ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อให้มันปลดปล่อยธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างพอเพียง พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและผลิตผลสูงขึ้น
ปุ๋ยคอก ที่สำคัญได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืช จะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยในการดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอกลงไป จะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น
ปุ๋ยคอก มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5 % N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่าย จะถูกชะล่างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไป ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว
การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชีแล้วอัดให้แน่น ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือ ทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ๆ และยังสดอยู่ ถ้าจะใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P2O5 ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้สูญเสียไนโตรเจน โดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้นๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ หรือนำไปใส่ในไร่นาโดยตรงเลยก็ได้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การป้องกันมลพิษจากการนำมูลสุกรไปใช้ประโยชน์
หลักการง่ายๆ เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นจากการนำมูลสุกรไปใช้ประโยชน์คือ ไม่ให้มีการหมักหมม เช่นใช้เลี้ยงปลาในปริมาณที่เหมาะสม หรือใช้ปุ๋ยคอกแล้วกลบด้วยดินทันที จะทำให้กลิ่นเหม็นลดน้อยลง
• การนำมูลสุกรสดไปใช้ประโยชน์ควรทำทันที ไม่ควรกองทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เช่น การนำไปเลี้ยงปลา หรือไรแดง
• การหมักมูลสุกรเพื่อทำปุ๋ย ไม่ควรพลิกกลับกองปุ๋ยในช่วงเช้ามืดและหัวค่ำ เพราะเป็นช่วงเวลาที่กลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายได้ดี
• การนำมูลสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยคอก ควรใช้มูลที่ตากแห้งแล้ว และไม่ควรนำไปใช้ในบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชน
ที่มา:การนำขี้หมูสดมาทำปุ๋ยคอก www .ptg2552.com/index.php?mo=5&qid=239441
วัดอนารโย พะเยา
-
ทริปนี้ ไปไหว้พระ วัดอนารโย และแวะเที่ยว กว๊านพะเยา สักการะ วัดเก่ากลางน้ำ
7 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น