มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



อุปกรณ์และวิธีการ  ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ทางด้านการเกษตร
      1. อุปกรณ์                                                 2. วิธีการ


   แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้นโดยดูลักษณะพื้นที่ซึ่งมีความใกล้เคียง กันทั้งเรื่องความลาดเท ลักษณะของเนื้อดิน และสิ่งอื่นๆที่สังเกตุได้เป็นหนึ่งแปลงย่อย( หนึ่งตัวอย่างดิน)

  • เดินสุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย 15-20 จุด
  • การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุม รูปคมขวาน หรือรูปลิ่ม ลึกประมาณ 15 ซม. ใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. ลึก 15 ซม. ตัวอย่างดินที่ได้นี้เป็นดิน 1 จุด แล้วใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่ความลึก 0-15 และ 40-50 ซม.
  • คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง  กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม สำหรับใช้ในการวิเคราะห์
  • ถ้าดินเปียก ตากในที่ล่ม แล้วบดให้ละเอียด เก็บใส่ถุง และเขียนหมายเลขกำกับไว้


         เกษตรกรที่ต้องการใช้คำแนะนำปุ๋ยเฉพาะพื้นต้องรู้จักชุดดินหรือชนิดของดิน ในไร่นา สวนของตนเองอย่างดี โดยติดต่อ  สถานีพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่านที่สุด หลังจากนั้น ต้องเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆเพื่อขอคำแนะนำการใช้ปุ๋ย อย่างถูกต้องในพื้นที่ของเรา    

            ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของ ดินเป็นดินเหนียว  มื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัดพบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่น แรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อ ความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการ เจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมี ประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดิน เปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น
       ภาพหน้าตัดดินเปรี้ยวจัดเมื่อขุดลึกลงไป ด้านบนจะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดแต่เมื่อลึกลงไปจะมีเนื้อดินสีเหลืองๆ เป็นสารประกอบ จาโรไซท์  ที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของอากาศกับสารไพไรท์ใต้ดิน

 วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัด

      1. วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
           ป้องการเกิดกรดกำมะถันโดยการควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้น  ดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ (สารที่ทำให้เกิดความเป็นกรด)  อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ โดยมีขั้นตอนดังนี้

       - วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่
       - ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออกเพื่อชะล้างกรดที่เกิดขึ้น
       - รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันอากาศลงไปทำปฏิกริยากับสารตั้งต้นที่ ก่อให้เกิดความเป็นกรด


ที่มา : www .kasetporpeang. com/forums/index.php?topic=19576.16

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น