มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



ความรู้เรื่องปุ๋ยเคมี

      คำว่า "ปุ๋ย" นั้น โดยทั่วไปหมายถึงวัสดุใด ๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาหารแก่พืชอาหารพืช หรือที่เรียกกันว่า ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชนั้นมี 16 ธาตุ ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโตรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานิส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน

พืชได้รับ ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอน จากน้ำและอากาศ ทั้งที่อยู่เหนือดินและใต้ดิน ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ นั้นพืชได้จากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดิน
ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย

ธาตุอาหารรองมี 3 ธาตุเช่นกัน คือ กำมะถัน แคลเซียม และแมกนีเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มพืชนี้ พืชต้องการในปริมาณมากเช่นกัน แต่ในดินส่วนใหญ่มักจะมีอยู่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มธาตุอาหารเสริม มี 7 ธาตุ คือ เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ธาตุอาหารในกลุ่มพืชนี้พืชต้องการในปริมาณน้อย และมักจะมีอยู่ในดินเพียงพอต่อความต้องการของพืชแล้ว

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การใช้ปุ๋ยคือ การที่มนุษย์พยายามเพิ่มเติมธาตุอาหาร ให้แก่พืชนอก เหนือจากที่พืชได้รับอยู่แล้วโดยธรรมชาติ

ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ขึ้ค้างคาว กระดูกป่น และเลือดแห้ง เป็นต้น
ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น จากหิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หรือจากการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
แม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม แต่ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งหมด เพราะปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วน ซุยได้

นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทุกธาตุเหมือนปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยเคมีทั่ว ๆ ไป จะเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ซึ่งทั้ง 3 ธาตุนี้ ก็คือธาตุปุ๋ยนั้นเอง จึงอาจแบ่งปุ๋ยเคมีออกตามจำนวนธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสม

ปุ๋ยเดี่ยว คือ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มีโปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น

ปุ๋ยผสม จะมีธาตุปุ๋ยอยู่ 2 หรือ 3 ธาตุ เช่ย ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 20 มีธาตุไนโตรเจน และธาตุฟอสฟอรัสเพียง 2 ธาตุ ส่วนปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 จะมีธาตุ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ครบ 3 ธาตุเป็นต้น

บนกระสอบหรือภาชนะซึ่งบรรจุปุ๋ยเคมีนั้นโดยปกติ จะมีตัวเลขอยู่ 3 จำนวน แต่ละจำนวนจะมีขีดคั่นกลาง เช่น 46 - 0 - 0, 16 - 20 - 0 หรือ 15 - 15 - 15 เป็นต้น ตัวเลขที่อยู่หน้าสุดนั้นเป็นตัวเลขแสดงเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุไนโตรเจน ตัวเลขกลางเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุฟอสฟอรัส และตัวเลขตัวหลังเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุโปตัสเซียม โดยน้ำหนัก ตัวเลขทั้ง 3 จำนวนนี้ เรียกว่า “สูตรปุ๋ย"

ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประกอบด้วย
เนื้อธาตุไนโตรเจน 13 กก.
เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 13 กก.
เนื้อธาตุโปตัสเซียม 21 กก.

ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประกอบด้วย
เนื้อธาตุไนโตรเจน 46 กก.
เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 0 กก.
เนื้อธาตุโปตัสเซียม 0 กก.

ดังนั้น คุณค่าของปุ๋ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุอาหารที่มีในปุ๋ยนั้น และปุ๋ยที่มีสูตรเหมือนกันก็ควรจะมีคุณค่าเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคนละชื้อหรือคนละตราก็ตาม เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ไม่ว่าจะเป็นตราใดจะให้ธาตุอาหารพืชเท่ากัน จึงควรเลือกซื้อตราที่ราคาถูกที่สุด ยกเว้นปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าว น้ำขังซึ่งไม่สามารถใช้หลักการนี้ได้

ปุ๋ยที่ใช้สำหรับนาข้าวน้ำขัง หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยนา" นั้นเป็นปุ๋ยที่มีคุณสมบัติพิเศษและจะต้องมีข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่า "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินเหนียว" หรือ "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินทราย" จึงจะเลือกซื้อมาใช้ในนาข้าวได้ ปุ๋ยที่ไม่มีข้อความดังกล่าวแม้จะมีสูตรเหมือนกันก็ไม่ควรนำนาใช้ในนาข้าว

สูตรปุ๋ยนั้นถ้านำมาทอนค่าให้เป็นเลขน้อย ๆ ก็จะได้ตัวเลขชุดหนึ่งเรียกว่า "อัตราส่วนปุ๋ย" หรือ "เรโชปุ๋ย" เช่น สูตร 16 - 16 - 8 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 2 ต่อ 2 ต่อ 1 (2 : 2 : 1) หรือ 15 - 15 - 15 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 หรือ สูตร 16 - 16 - 16 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 เช่นกัน
ดังนั้น ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจึงสามารถใช้แทนกันได้ แต่ปริมาณการใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุในปุ๋ยนั้น

ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจะสามารถนำมาเปรียบเทียบราคากัน ได้ว่าปุ๋ยสูตรใดถูกหรือแพงกว่ากัน เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 ราคาตันละ 6,300 บาท และปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 เช่นเดียวกันแต่ราคาตันละ 6,100 บาท สามารถเทียบราคาได้ว่าควรจะเลือกซื้อปุ๋ยสูตรใด

ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุโดยเฉลี่ย = ราคาปุ๋ย 100 กก. / เนื้อธาตุทั้งหมด

ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 , ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 630 / 45 = 14 บาท

ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 , ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 610 / 42 = 14.5 บาท

แสดงว่าในการแสดงกรณีนี้เราควรเลือกซื้อปุ๋ยสูตร 15 - 15 – 15

ปุ๋ยยูเรีย 46 - 0 - 0 ราคาตันละ 4,600 บาท และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ราคาตันละ 2,800 บาท สามารถเทียบราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุได้ดังนี้

ปุ๋ยยูเรีย ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุได้ดังนี้ = 460 / 46 = 10 บาท

แอมโมเนียมซัลเฟต ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 280 / 21 = 13.3 บาท

ดังนั้น ในกรณีนี้เราควรเลือกซื้อยูเรีย

ในการใช้ปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดให้ถูกต้องนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างได้แก่ ชนิดพืช ชนิดดิน เวลาในการใช้ปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ย พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแต่ละธาตุมากน้อยต่างกันไป บางชนิดต้องการธาตุไนโตรเจนมาก บางชนิดต้องการธาตุโปตัสเซียมมาก หรือในพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลาก็อาจต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน เช่น ในช่วงที่พืชสร้างใบ จะต้องการธาตุไนโตรเจนมาก แต่ในช่วงสร้างผลจะต้องการธาตุโปตัสเวียมมาก เป็นต้น ดินแต่ละชนิดก็มีปริมาณธาตุแตกต่างกัน ดินบางชนิดอาจมีธาตุโปตัสเซียมสูง ส่วนดินทรายมักจะมีโปตัสเซียมน้อย เป็นต้น

วิธีการใช้ปุ๋ยก็มีหลายวิธี เช่น วิธีหว่าน วิธีโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม เป็นต้น แต่ละวิธีก็มีประสิทธิภาพและความสะดวกไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ

1. ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร

2. ใช้ปุ๋ยให้ถูกอัตรา

3. ใช้ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา

4. ใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี

เกษตรกรจึงควรดำเนินการให้ถูกต้องตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ย สำหรับพืชแต่ละชนิด ซึ่งนักวิชาการได้ให้ไว้

พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง พี.เอช. ต่างกัน แต่พืชทั่ว ๆ ไปจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วง พ.เอช. 6.0 - 7.0 ช่วง พี.เอช. ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแสดงไว้ในตารางที่ ช่วง พี.เอช. ของดิน ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ที่มา : ปุ๋ยเคมีตราภูเขาทอง

"ตะปู‏"

มีเด็กน้อยคนหนึ่งอารมณ์ไม่ค่อยจะดีพ่อของเขาจึงให้ตะปู
กับเขา 1 ถุงและบอกเขาว่า ทุกครั้งที่ลูกรู้สึกไม่ดี โมโห หรือโกรธใคร
ก็ตาม ให้ตอกตะปู 1 ตัว ลงไปที่รั้วหลังบ้านก็แล้วกัน วันแรกผ่านไป
เด็กน้อยตอกตะปูเข้าไปที่รั้วถึง 37 ตัว วันที่ 2 และ วันที่ 3 และแต่
ละวันที่ผ่านไป ผ่านไปจำนวนตะปูก็ค่อยๆลดลง ลดลงๆ เพราะเด็กน้อย
รู้สึกว่า การรู้จักควบคุมตัวเองให้สงบ ง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ
แล้ววันหนึ่ง หลังจากที่เขาสามารถ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
ใจเย็นมากขึ้น เขาเดินไปหาพ่อเพื่อบอกว่า เขาคิดว่าเขาไม่จำเป็นที่
ต้องตอกตะปูอีกแล้ว เพราะเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว เขาสามารถควบคุม
ตัวเองได้ดีขึ้น ไม่มุทะลุเหมือนแต่ก่อนแล้ว


พ่อยิ้มแล้วบอกลูกชายว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ลองพิสูจน์
ให้พ่อดู ทุกๆครั้งที่ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตัวเองได้
ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้านที่ละ 1 ตัว วันแล้ววันเล่า เด็กชาย
ก็ค่อยๆถอนตะปูออกทีละตัว ๆ จนในที่สุด วันหนึ่งตะปูทั้งหมดก็ถูก
ถอนออกเด็กชายดีใจมากรีบวิ่งไปบอกพ่อของเขาว่า ผมทำได้แล้วครับ
ในที่สุดผมก็ทำได้สำเร็จ
พ่อไม่ได้พูดว่าอะไร แต่จูงมือลูกของเขาไปที่รั้วนั้น แล้วบอก
ลูกทำได้ดีมากทีนี้ลองมองกลับไปที่รั้วสิ เห็นมั๊ยว่ารั้วมันไม่เหมือนเดิม
มันไม่เหมือนกับที่มันเคยเป็นก่อนหน้านี้ ลูกจำไว้นะ ว่าเมื่อไหร่ที่เราทำ
อะไรลงไปด้วยการใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมักจะเกิดรอยแผล เหมือนกับการ
เอามีดไปกรีดหรือแทงใครเข้า ต่อให้ใช้คำว่า..ขอโทษ..สักกี่หน
ก็ไม่อาจจะลบรอยแผลหรือความเจ็บปวดที่เกิดกับเขาคนนั้นได้ ลูกจงจำ
คำว่า ..ขอโทษ..ไว้เสมอนะ ไม่ว่าเขาจะยกโทษให้เรา หรือ ไม่ก็ตามนะ
จำไว้อีกด้วยว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้น รอยร้าวที่เกิดขึ้นกับเขา
เขาอาจจะไม่มีวันลืมมันได้......ตลอดไป
 



สิ่งที่สำคัญคือ รู้ทันความโกรธให้เร็วที่สุด ทันทีที่สติรู้ทันว่า
เราปล่อยให้ความโกรธครอบงำ อย่างน้อยมันจะหยุดเพ่งโทษคนอื่น
วางความยึดมั่นว่าเราถูกลงเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขสถานการณ์
ดีกว่าปล่อยให้ความยึดว่า ตัวเองถูกเสมอ หรือฐิทิมานะมาทำลาย
ทุกอย่างรวมทั้งชีวิตตัวเราเอง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ........
มีครูกับลูกศิษย์นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งใกล้กับสนามหญ้าอันกว้างใหญ่
ทันใดนั้น ลูกศิษย์คนหนึ่งก้อถามขึ้นมาว่า

ลูกศิษย์ : อาจารย์คับ ผมสงสัยจังเลยว่า
เราจะหาคู่แท้ของเราเจอได้ไงคับอาจารย์
บอกผมหน่อยได้ไหมคับ ?

อาจารย์ : ( เงียบไปพักหนึ่ง ก่อนที่จะตอบ )
อืม มันเป็นคำถามที่ยากนะ
แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นคำถามที่ง่ายเหมือนกันนะ

ลูกศิษย์ :( นั่งคิดอย่างหนัก )
อืม ?.... งงอะไม่เข้าใจ

อาจารย์ : โอเค งั้น
เธอลองมองไปทางนั้นนะ ตรงนั้นน่ะ
มีหญ้าเยอะแยะเลยใช่ไหม
เธอลองเดินไปหาหญ้าต้นที่สวยที่สุด
แล้วเด็ดมาให้ครูสิ ต้นเดียวเท่านั้นนะ
แต่ว่าเวลาเธอเดินเนี่ยเธอต้องเดินไปข้างหน้าอย่างเดียวนะ
ห้ามเดินถอยหลัง เข้าใจไหม

ลูกศิษย์ : ได้เลยครับ จาน รอสักครูน่ะครับ
( ว่าแล้วก้อวิ่งตรงไปยังสนามหญ้า )
หลังจากนั้นไม่นาน ....

ลูกศิษย์ : ผมกลับมาแล้วครับจาน

อาจารย์ : อืม ... แต่ทำไมครูไม่เห็นต้นหญ้าสวย ๆ
ในมือเธอเลยหละ

ลูกศิษย์ : อ๋อ คืองี้ครับจาน
ตอนที่ผมเดินไปแล้วผมเจอต้นหญ้าสวยๆเนี่ย
ผมก้อก้อคิดว่า เออ เดี๋ยวก้อคงเจอต้นที่สวยกว่านี้
ดังนั้นผมก็เลยไม่เด็ดมัน แล้วผมก็เดินไปเรื่อย
รู้ตัวอีกที
มันก็สุดสนามหญ้าแล้วครับจะเดินกลับก้อไม่ได้
เพราะจานสั่งห้ามไว้

อาจารย์ : นั่นแหละ
คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงหละ
เรื่องนี้ต้องการที่จะสื่ออะไรกับเรา

ต้นหญ้า ก็คือ คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ

ต้นหญ้าที่สวยงาม ก็คือคนที่คุณชอบ
หรือคนที่ดึงดูดคุณนั่นแหละ

ทุ่งหญ้าก็คือ เวลา เวลาที่คุณจะหาคู่แท้ของคุณ

อย่ามัวแต่เปรียบเทียบ
แล้วคิดว่าคงจะมีที่ดีกว่านี้ เพราะถ้าคุณ มัวแต่เปรียบเทียบ
คุณจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

อย่าลืมว่า ' เวลาไม่เคยย้อนกลับ ' 

ไม่ใช่แค่ความรักเท่านั้น
เรื่องนี้ ยังสามารถใช้ได้กับการหาคนที่จะมาทำงานร่วมกับคุณในชีวิต
หรือแม้กระ ทั่งงานที่เหมาะสมกับคุณ

ดังนั้น มันจึงเป็นสัจธรรมที่ว่า
จงรัก และไขว่คว้าโอกาสที่คุณมีในขณะนี้
อย่ามัวแต่เสียเวลา
บางครั้งคนเราก็มีโอกาสเลือกแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ' 

= ถอนหญ้า =

เป็นเรื่องสั้นๆแต่ก็ช่วยเตือนสติได้ดี
"ก๊อกๆๆๆๆ"

เสียงเคาะประตูที่ดังผ่านแผ่นไม้มา พร้อมๆ กับเสียงที่ดูเหมือนกับเป็นคำสั่งว่า

"ตื่นนอนได้แล้วจะได้ช่วยกันทำงาน"

เด็กน้อยคนหนึ่งตื่นขึ้นมา ท่าทางงัวเงียสลึมสลือ มือจับผ้าห่มที่อยู่ปลายเตียงมาพับและตอบรับเสียงปลุกนั้น

"อืม.....ตื่นแล้ว ได้ยินแล้ว" "นี่วันหยุดนะเนี่ย" เด็กน้อยบ่นกับตัวเอง

"เดี๋ยวกินข้าวเสร็จ ไปถอนหญ้าที่ไร่นะ" พ่อสั่งขณะที่ใช้ตะเกียบคีบเนื้อปลาให้ลูกชาย

เด็กน้อยพยักหน้าตอบ และลงมือทานอาหารมื้อแรกของวัน


หลังจากทานอาหารเสร็จ เด็กน้อยเดินไปหยิบหมวกและเสื้อแขนยาว มาสวมเพื่อกันแดด แล้ววิ่งออกไปหน้าบ้าน
กระโดดขึ้นซ้อนท้ายจักรยานโบราณสภาพเก่าโทรม บ่งบอกถึงอายุการใช้งานซึ่งมีพ่อเป็นผู้ขี่

ในระหว่างทาง เด็กน้อยคุยกับพ่อตลอด เขาป้อนคำถามที่อยากรู้

ซึ่งบางครั้งดูเหมือนกับว่าผู้เป็นพ่อจะพยายามสอดแทรกให้แง่คิดตลอด

โดยที่เด็กน้อยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่นานนักก็ถึงไร่ที่เขามีภารกิจที่จะต้องทำ

"ถอนหญ้า" ภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย ..หญ้าเปรียบเสมือน "ศัตรูตัวฉกาจของชาวไร่"

"เดี๋ยวเจ้าถอนแปลงนี้นะ" พ่อสั่งพร้อมกับชี้นิ้วไปที่แปลงผัก

เด็กน้อยรับคำและลงมือถอนหญ้าออกจากแปลงผัก ทีละต้น ทีละต้น จนกระทั่งศัตรูตัวฉกาจของชาวไร่หายไปจากแปลงผักจนหมดสิ้น

"ไปพักกินน้ำที่ใต้ต้นมะม่วงก่อน....ไป" เด็กน้อยรับคำพ่อแล้วเดินไปพัก

"กลับมาเร็วๆ นะ ยังมีอีกแปลงหนึ่ง" เสียงพ่อสั่งตามหลังเด็กน้อย



หลังจากได้พักกินน้ำ พ่อได้ส่งจอบให้เด็กน้อย พร้อมกับพูดว่า "เอ้า...เอาไปถากหญ้า"

เด็กน้อยรับจอบและตรงไปยังแปลงผักเพื่อทำภารกิจต่อ

ดูเหมือนว่าเด็กน้อยจะพึงพอใจกับการใช้จอบถากหญ้ามากกว่าการใช้มือถอน

เหตุผลก็คือ มันทำให้เขาสามารถทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งไม่นานนักเขาก็จัดการกับศัตรูตัวฉกาจของชาวไร่อย่างราบคาบ




หลังจากที่ภารกิจเสร็จสิ้นลง พ่อลูกก็พากันกลับบ้าน

ระหว่างทางเด็กน้อยถาม "ทำไมไม่ให้ผมใช้จอบตั้งแต่แรกล่ะ ทั้งๆ ที่ทำงานได้เร็วกว่า"

พ่อไม่ตอบ ได้แต่อมยิ้ม เก็บซ่อนคำตอบไว้เพียงผู้เดียว



ผ่านไป 1 สัปดาห์

พ่อได้พาเด็กน้อยกลับไปที่ไร่อีก สิ่งที่เด็กน้อยเห็นก็คือ

แปลงที่ใช้มือถอน บัดนี้ไม่มีหญ้าให้เขาถอนเลย แม้แต่ต้นเดียว

แต่... แปลงที่ใช้จอบถาก กลับมีต้นหญ้าปกคลุมเหมือนเดิม



"ทำไมมันเป็นอย่างนั้นล่ะ" เด็กน้อยถามด้วยความสงสัย ทั้งๆ ที่เขาได้จัดการมันหมดไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

พ่อตอบ "แปลงที่เจ้าใช้มือถอนน่ะ เจ้าได้ถอนมันถึงรากถึงโคน ส่วนแปลงที่เจ้าใช้จอบถากน่ะ

เจ้าเพียงแต่ตัดเอาส่วนปลายของมันออกเท่านั้น มันยังคงมีส่วนที่ฝังลึกอยู่ในดินอีก”

“มัน ก็เหมือนกับปัญหาต่างๆ ที่เราพบเจอนั่นแหละ ถ้าเราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยปล่อยสาเหตุของปัญหาไว้ ไม่นานนักปัญหานั้นก็จะกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้เจ้าอีก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แม้มันจะยากสักนิด แต่มันก็ทำให้ปัญหานั้นหมดไปได้"

เด็กน้อยยิ้มรับด้วยความเข้าใจ

"จงหันหน้าสู้กับปัญหา.....จัดการกับสาเหตุ.....และอย่าท้อถอย"