มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



ปุ๋ยคอก

ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อให้มันปลดปล่อยธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างพอเพียง พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและผลิตผลสูงขึ้น

ปุ๋ยคอก ที่สำคัญได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืช จะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยในการดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอกลงไป จะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น

ปุ๋ยคอก มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5 % N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O

ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่าย จะถูกชะล่างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไป ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว

การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชีแล้วอัดให้แน่น ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือ ทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ๆ และยังสดอยู่ ถ้าจะใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P2O5 ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้สูญเสียไนโตรเจน โดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้นๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ หรือนำไปใส่ในไร่นาโดยตรงเลยก็ได้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การป้องกันมลพิษจากการนำมูลสุกรไปใช้ประโยชน์

หลักการง่ายๆ เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นจากการนำมูลสุกรไปใช้ประโยชน์คือ ไม่ให้มีการหมักหมม เช่นใช้เลี้ยงปลาในปริมาณที่เหมาะสม หรือใช้ปุ๋ยคอกแล้วกลบด้วยดินทันที จะทำให้กลิ่นเหม็นลดน้อยลง

• การนำมูลสุกรสดไปใช้ประโยชน์ควรทำทันที ไม่ควรกองทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เช่น การนำไปเลี้ยงปลา หรือไรแดง

• การหมักมูลสุกรเพื่อทำปุ๋ย ไม่ควรพลิกกลับกองปุ๋ยในช่วงเช้ามืดและหัวค่ำ เพราะเป็นช่วงเวลาที่กลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายได้ดี

• การนำมูลสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยคอก ควรใช้มูลที่ตากแห้งแล้ว และไม่ควรนำไปใช้ในบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชน

ที่มา:การนำขี้หมูสดมาทำปุ๋ยคอก www .ptg2552.com/index.php?mo=5&qid=239441


ธาตุอาหารพืชสำคัญไฉน ???

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า อาหารของพืชคืออะไร ? พืชกินอาหารได้อย่างไร ? ทำไมแค่รดน้ำเฉย ๆ พืชก็เจริญงอกงาม ? และปัจจุบันยังไม่มีใครทราบได้ว่า จริง ๆ แล้วต้นไม้หรือพืชแต่ละต้นนั้นต้องการน้ำปริมาณเท่าไหร่ ? ต่อวัน

ข้อมูลที่ได้เป็นเพียงการคำนวณซึ่งประมาณไม่ได้ใกล้เคียงเหมือนมนุษย์เรา เพราะต้นไม้ทำงานอยู่ตลอดเวลา และต้นไม้พูดไม่ได้ที่จะบอกเราได้ว่า “ฉันอิ่มแล้วนะ วันนี้ฉันกินน้ำหมดเป็นลิตรนะ” (ไม้ยืนต้นขนาดเส้นรอบวงโคนต้นประมาณ 1 เมตร กินน้ำประมาณ 20 ลิตร/วัน แต่ขึ้นอยู่กับ ชนิดพืช อุณหภูมิความชื้น แสงสว่าง และฤดูกาล) อาหารของพืชก็คือ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของสะสารที่ละลายในน้ำหรือของเหลว หรือที่เรียกว่าสารละลาย

พืชก็มีชีวิต มีการกินโดยอาศัยหลักการแพร่ของสารและอาศัยประจุความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (อิออน + -) การหายใจดูดเอาก๊าซคาร์บอน เข้าทางปากใบ (อยู่ใต้ใบ) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยกระบวนที่เรียกว่าการสังเคราะห์แสง โดยคลอโรฟิลล์ แล้วก็คายก๊าซออกซิเจน ออกมาให้เราได้ใช้หายใจกระบวนการนี้จะเกิดเฉพาะในตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ซึ่งคนโบราณภาคอีสานจะห้ามไม่ให้ปลูกต้นไม้ในห้องนอนโดยใช้กุศโลบายจะบอกว่า “คะลำ” เดี๋ยวเวลานอนจะมีอะไรต่าง ๆ นา ๆ มาเข้าฝัน หรือเป็นวิญญาณมาหลอกหลอน (คะลำ = ภาษาอีสาน แปลว่า ไม่ดี ไม่ควรปฏิบัติ ไม่ควรทำ) รวมถึงการขับถ่ายออกมาทางปากใบโดยการคายก๊าซออกทางปากใบ

ปัจจุบันพืชที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คือ พืชที่ปลูกในประเทศ อิสราเอล ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนี้เป็นทะเลทรายแต่กลับ ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แม้แต่โคนม น้ำนมโคที่ได้มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำนมโคจากประเทศเดนมาร์ก นั่นอาจเป็นเพราะมีการจัดการที่ดีบวกกับเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยเรายังเข้าไม่ถึง

ผมจึงอยากนำเสนอถึงความสำคัญ ของการให้ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) แก่พืช เพื่อจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันปุ๋ยที่ผลิตในประเทศไทยคือปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งนั้น ซึ่งนำเข้าเพียงปุ๋ยบริสุทธิ์ หรือหัวปุ๋ย จากนั้นนำมาผสมกับวัสดุต่าง ๆ ปุ๋ยที่ขายตามท้องตลาดเนื้อปุ๋ยจริง ๆ มีนิดเดียว ที่เหลือคือ องค์ประกอบ อาจจะเป็นดินเหนียวหรือสารอื่น ๆ แล้วแต่บางเจ้าเขาจะผลิตออกมา เพราะถึงเนื้อปุ๋ยมีมากไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน พืชจะได้รับประโยชน์จากไนโตรเจนได้ดีหลังจากให้ปุ๋ยเพียงแค่ใน 7 ชม. เท่านั้น ที่เหลือจะระเหยไปในอากาศและซึมลงไปในดินหมด

ธาตุอาหารพืชที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตมีทั้งหมด 16 ธาตุ

อยู่ในอากาศ 3 ธาตุ มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ประกอบไปด้วย คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) พืชนำไปใช้ประโยชน์ในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O)

ส่วนที่เหลือจะพบอยู่ในดินเป็นส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 13 ธาตุ คือ
1. ธาตุอาหารหลัก (ต้องการปริมาณมาก) ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเสียม (K)

2. ธาตุอาหารรอง (ต้องการปริมาณไม่มาก) ได้แก่ แคลเซี่ยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)

3.ธาตุอาหารเสริม (ต้องการปริมาณน้อย) (สังกะสี (Zn) เหล็ก (Fe) ทองแดง(Cu) แมงกานีส (Mn) ธาตุโมลิบดีนัม(Mo) โบรอน (B)) และคลอรีน (Cl)

ปุ๋ยเคมีที่มีขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก N - P - K เท่านั้น ทางที่ดีถ้ามีสัญลักษณ์เลขที่ใบอนุญาตของ กรมวิชาการเกษตร ก็อาจจะช่วยให้เราซื้อหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอนินทรีย์นั้นมีคุณภาพแน่นอน แต่สิ่งที่ทำให้พืชและดินคงอยู่ได้เราควรจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพต่าง ๆแทน ปุ๋ยเคมี.....


ที่มา : นายอุดม ดุจดา นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

ตอนนี้เป็นเรื่องของขี้ คือ ขี้หมู ที่มักจะเป็นปัญหาต่อเจ้าของฟาร์มและชุมชน ด้วยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ดังนั้นตึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของฟาร์มที่จะต้องกำจัดไม่ให้กลิ่นออกไปรบกวน ผู้อื่น แต่การจะสร้างบ่อกำจัดหรือกองทิ้งไว้จะต้องเสียพื้นที่และการป้องกันกลิ่น ออกมานั้นคงยากที่จะควบคุมแต่จากการติดตามเพื่อหาความรู้มาฝากผู้อ่าน จึงได้พอทำขี้หมูหมักด่วน 8 ชั่วโมงใช้ได้ดีกับไม้ผล อีกทั้งถ้าตากแห้งก็ไปใช้ได้ดีกับนาข้าว เพราะถ้าใช้ในนาข้าวลักษณะเปียกคงยากลำบากแก่การขนส่ง

นายบุญชู อินทร์ประสิทธิ์ เจ้าของแปลงศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียง วัย 51 ปี บ้านเลขที่ 58 ปี บ้านท่าสะตือ ต.ห้วยกรดพัฒนา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ได้ทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่างในพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน คือ แม่หมู 4 ตัว หมูเนื้อ 40 ตัว มะนาว 1 ไร่ กระท้อน 12 ต้น ฝรั่งแป้นสีทอง 1 ไร่ มะม่วง 24 ต้น แตงกวา 1 งาน และไผ่หวานอีก 40 ต้น การทำการเกษตรทุกอย่างนั้นไม่พบปัญหามากนัก เพราะได้ดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน แต่ที่มีปัญหามากคือหมู เพราะขี้หมูส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและเมื่อล้างลงร่องระบายน้ำ ทำให้น้ำเสียและคลองตื้นเขิน จึงได้เร่งรีบหาความรู้และทดลองการกำจัดกลิ่นขี้หมูเพื่อไม่ให้เป็นที่ รังเกียจของเพื่อนบ้าน


การประยุกต์ใช้ได้จากการเรียนรู้การผลิตน้ำหมักชีวภาพด้วยสาร พ.ด.6 โดยใช้ผลไม้สุก กากน้ำตาล อย่างละ กก. และน้ำสะอาด ลิตร ต่อสาร พ.ด. 6 1 ซองหมักไว้ จนได้น้ำหมักชีวภาพใช้ล้างคอกหมูกำจัดกลิ่นเหม็นในคอกได้ดีจึงนำมาประยุกต์ ใช้กับการหมักขี้หมู เพื่อใช้ในระนะเวลารวดเร็ว เพราะขาดสถานที่หมัก เนื่องจากภาชนะหมักจะใช้รถเข็นใส่ขี้หมูจากคอก เมื่อหมักเสร็จแล้วจะเข็นเทลงสวนไม้ผล หรือนำไปตากให้แห้งเพื่อใส่ในแปลงนาข้าวต่อไป

ขั้นตอนการหมัก
อัตราส่วนที่ใช้คือ ขี้หมูสด 40 กก. น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.6 จำนวน ลิตร ปุ๋ยเคมี 16-20-0 2 กำมือคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง นำไปราดพื้นบริเวณทรงพุ่มไม้ผล อาจเกิดหนอนแมลงวันแต่อายุของหนอนจะมากขึ้นอีก 10 วัน ตัวจะโตกลายเป็นอาหารของนก หรือกวาดลงน้ำเป็นอาหารปลา เพราะขี้หมูจะแห้งพอดี แต่ถ้าใส่ขี้หมูมากหรือหนามากหนอนจะไม่ฟักออกเป็นแมลงวันและตายขณะเป็นตัว หนอน จากการทำและการใช้มา 2 ปี ไม่พบปัญหากับพืชแต่พบแต่ผลดี อีกทั้งจากการทดลองถ้าใช้ขี้หมูสดที่ไม่ผ่านการหมักราดลงพื้นบริเวณทรงพุ่ม ไม้ผลเช่นเดียวกับขี้หมูผ่านการหมักฝรั่งจะตายเพียงไม่นาน เพื่อให้ได้ความรู้จึงยอมเสียฝรั่งที่ให้ผลแล้วจำนวน 2 ต้น คุณบุญชูกล่าว

ข้อดีของการใช้ขี้หมูหมัก
สามารถลดสภาวะกลิ่นเหม็นจากขี้หมู ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก จะมีก็เพียง 2 กำมือต่อขี้หมูหมัก 40 กก. ผลผลิตและรสชาติของฝรั่งดีขึ้น อีกทั้งเมื่อนำไปตากแดด สามารถนำไปผลิตเพื่อต่อเชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากและโคนเน่าได้อีก ด้วย

ที่มา :บันทึกเรื่อง...เกษตรดีที่ชัยนาถ



การทำน้ำหมักจากขี้หมูเพื่อใช้ในการเกษตร
พูดถึงมูลหมูคนส่วนใหญ่จะบอกว่าเหม็น และไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรแต่บางท่านก็จะนำไปใช้ในเรื่องของการทำ ก๊าชชีวภาพเพื่อนำไปใช้ในเรื่องของเชื้อเพลิงในการหุงต้มทำอาหาร เป็นการลดต้นทุนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และบางท่านก็จะใช้ในเรื่องของการนำมาทำปุ๋ย เพราะในมูลหมูนั้นมีธาตุอาหารต่างๆมากมาย เช่นกันกับพี่ชาญ พะวา เกษตรกรซึ่งทำการเกษตรแบบพืชไร่ ก็ได้นำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อฉีดพ่นทางใบให้กับมันสำปะหลังและอ้อย

------------------------------------------------------------- ขั้นตอนการทำและส่วนผสมมีดังนี้
1.มูลหมู 10 กิโลกรัม
2.กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.น้ำสะอาด 15 ลิตร
4.ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด ขนาด 50 ลิตร

วิธีทำ
นำมูลหมูใส่ลงในถังพลาสติกจากนั้นนำกากน้ำตาลใส่ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อทำการคลุกเคล้ากันแล้วระหว่างมูลหมูกับกากน้ำตาลแล้วก็นำน้ำสะอาด 15 ลิตรใส่ลงไปในถังพลาสติกและคนให้เข้ากันอีกครั้ง เมื่อใส่ส่วนผสมทุกอย่างเรียบร้อยและคนจนเข้ากันก็ให้ทำการปิดฝาถังพลาสติก หมักไว้ 30 วัน ก็สามารถนำไปฉีดพ่นกับมันสำปะหลังและอ้อยในช่วงปลูกจนถึง 3 เดือนเลยที่เดียว

อัตราการใช้

อัตราการใช้ น้ำหมักมูลหมู 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ควรฉีดพ่นช่วงแดดอ่อน (เช้า/เย็น)โดยฉีดได้ทุกๆ 7-10 วัน

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677 สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. ชัยนาท 

"แกล้งดิน"

     วิธีการปรับปรุงดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน" สามารถเลือกใช้ได้ 3 วิธีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คือ

    1. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรดทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการระบายน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่ กระทำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้าง ดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์มาก เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมิเนียมที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืช สามารถเจริญเติบโตได้ดี
    2. การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ซึ่งมีวิธีการดังขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (marl) สำหรับถาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปรหรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
    3. การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัด รุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน






           การปรับปรุงดินเปรี้ยวควรมีการปลูกปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุทำให้ ดินที่แน่นและเหนียวร่วนซุยขึ้น รากพืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนั้นการเลือกปลูกพืชที่ค่อนข้างมีความทนทานต่อดินเปรี้ยวก็จะแก้ปัญหา ได้ส่วนหนึ่ง พืชที่ทนดินเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าว มะพร้าว มะกอก มะนาว มะขาม มะม่วง มะละกอ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วฝักยาว มะเชือ แตงโม กระท้อน  ฝรั่ง  ยางพารา และพวกพืชตระกูลส้มต่างๆก็ทนดินเปรี้ยวได้ดี

อุปกรณ์และวิธีการ  ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ทางด้านการเกษตร
      1. อุปกรณ์                                                 2. วิธีการ


   แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้นโดยดูลักษณะพื้นที่ซึ่งมีความใกล้เคียง กันทั้งเรื่องความลาดเท ลักษณะของเนื้อดิน และสิ่งอื่นๆที่สังเกตุได้เป็นหนึ่งแปลงย่อย( หนึ่งตัวอย่างดิน)

  • เดินสุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย 15-20 จุด
  • การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุม รูปคมขวาน หรือรูปลิ่ม ลึกประมาณ 15 ซม. ใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. ลึก 15 ซม. ตัวอย่างดินที่ได้นี้เป็นดิน 1 จุด แล้วใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่ความลึก 0-15 และ 40-50 ซม.
  • คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง  กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม สำหรับใช้ในการวิเคราะห์
  • ถ้าดินเปียก ตากในที่ล่ม แล้วบดให้ละเอียด เก็บใส่ถุง และเขียนหมายเลขกำกับไว้


         เกษตรกรที่ต้องการใช้คำแนะนำปุ๋ยเฉพาะพื้นต้องรู้จักชุดดินหรือชนิดของดิน ในไร่นา สวนของตนเองอย่างดี โดยติดต่อ  สถานีพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่านที่สุด หลังจากนั้น ต้องเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆเพื่อขอคำแนะนำการใช้ปุ๋ย อย่างถูกต้องในพื้นที่ของเรา    

            ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของ ดินเป็นดินเหนียว  มื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัดพบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่น แรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อ ความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการ เจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมี ประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดิน เปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น
       ภาพหน้าตัดดินเปรี้ยวจัดเมื่อขุดลึกลงไป ด้านบนจะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดแต่เมื่อลึกลงไปจะมีเนื้อดินสีเหลืองๆ เป็นสารประกอบ จาโรไซท์  ที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของอากาศกับสารไพไรท์ใต้ดิน

 วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัด

      1. วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
           ป้องการเกิดกรดกำมะถันโดยการควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้น  ดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ (สารที่ทำให้เกิดความเป็นกรด)  อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ โดยมีขั้นตอนดังนี้

       - วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่
       - ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออกเพื่อชะล้างกรดที่เกิดขึ้น
       - รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันอากาศลงไปทำปฏิกริยากับสารตั้งต้นที่ ก่อให้เกิดความเป็นกรด


ที่มา : www .kasetporpeang. com/forums/index.php?topic=19576.16

         ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 16 ธาตุ ในจำนวนนี้ 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ได้จากน้ำและอากาศ ส่วนธาตุอาหารอีก 13 ธาตุนั้นมาจากดิน  ในบรรดาธาตุอาหารทั้ง 13 ตัวนั้น เอ็น พี เค เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด ดังนั้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดินในรูปของปุ๋ยจึงเน้นเฉพาะ เอ็น พี เค ส่วนธาตุอาหารอีก 10 ตัวนั้น จัดเป็นธาตุอาหารรองและจุลธาตุ หรือธาตุอาหารเสริม ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการใส่ให้กับพืชบ้างหากดินบริเวณที่ปลูกพืชนั้นขาดแคลน เช่น ดินทราย ดินที่เป็นกรดมากไปหรือเป็นด่างมากไปเป็นต้น



            เมื่อมีการเก็บเกี่ยวพืชออกไปจากดินในรูปของผล หรือใบก็ตาม ธาตุอาหารต่างๆ ก็จะสูญหายไปกับพืชที่เก็บเกี่ยว โดยจะสูญเสีย เอ็น พี เค มากกว่าธาตุอาหารตัวอื่นๆ ถ้าเราไม่ใส่ธาตุอาหาร เอ็น พี เค เพิ่มเติมลงไปในดิน ดินก็จะมีธาตุอาหารลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดดินก็เสื่อมโทรม และไม่สามารถผลิตพืชได้ เมื่อถึงเวลานั้นการที่จะปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นเราจึงควรทะนุบำรุงรักษาดินของเราไม่ให้เสื่อมโทรม โดยการใส่ธาตุอาหารพืชลงไปในดินให้เท่ากับการสูญเสียออกไป การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดินมีหลายทางคือ

1 สูญเสียไปกับส่วนของพืชที่เก็บเกี่ยวออกไปจากพื้นที่ปลูก

2 ถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน

3 สูญหายไปในรูปของก๊าซ กรณีของไนโตรเจน

4 เกิดการตรึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส การตรึงหมายถึงธาตุอาหารถูกดินหรือสารประกอบในดินจับไว้ พืชไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้




                      การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเป็นการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความสูญหาย ของปริมาณธาตุอาหารพืชที่อยู่ในดิน เนื่องจากพืชดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผล ผลิตของพืช ธาตุอาหารบางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของลำต้น ใบและผล เมื่อมนุษย์เก็บเกี่ยว ผลผลิตออกจากพื้นดินที่ปลูก ธาตุอาหารที่ติดอยู่กับผลผลิตก็จะถูกนำออกจากพื้นที่นั้นด้วย หากใช้ที่ดินผลิตพืชเป็นเวลานานโดยปราศจากการทดแทนปริมาณธาตุอาหารที่ติดไป กับผลผลิต ดินในบริเวณ ดังกล่าวจะกลายเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและไม่สามารถใช้ผลิตพืชได้ใน ที่สุด  ดังนั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน
            ดัง นั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน



ปุ๋ย-สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

       ปุ๋ยเคมี คือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช เพียงแต่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อนำมาใส่ลงไปในดินที่มีความชื้น สารประกอบเหล่านี้จะละลายและพืชสามารถดูดกินไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้าง ผลผลิตได้


           ปุ๋ยอินทรีย์นั้นหมายถึงสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่พืช สัตว์ จุลินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ มีประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นต้นว่า ทำให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและอากาศ ทำให้การชอนไชของรากเพื่อหาธาตุอาหารง่ายขึ้น ส่วนเรื่องปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์เช่น มีธาตุไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน สารประกอบเหล่านี้ไม่สามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ทันที จำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์เสียก่อน โดยสุดท้ายจะปลดปล่อยธาตุอาหารในรูปสารประกอบอนินทรีย์ชนิดเดียวกับปุ๋ยเคมี


ารบ่งบอกปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี

บนฉลากปุ๋ยเคมีทุกชนิดจะ ระบุปริมาณธาตุอาหารหลักเป็นตัวเลข 3 จำนวนเรียงกันเรียกว่า “สูตรปุ๋ย” โดยตัวเลขจะหมายถึง % โดยน้ำหนักของไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม หรือ เอ็น-พี-เค เรียงตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 13-0-46 แสดงว่ามีไนโตรเจน 13% ไม่มีฟอสฟอรัส และมีโพแทสเซียม 46% สำหรับธาตุอาหารอื่นๆ ในปุ๋ยเคมี ผู้ผลิตจะระบุหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าระบุก็จะเขียนบอกบนฉลากปุ๋ยว่ามีธาตุอะไรบ้าง และมีเท่าไร
                                              รูปของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี

1 ไนโตรเจน (N) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะอยู่ในรูปแอมโมเนียมหรือไนเตรตหรือยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในสูตรปุ๋ย หมายถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน พืชสามารถดูดกินได้ทันที

2 ฟอสฟอรัส (P) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ที่เรียกว่า รูปที่เป็นประโยชน์ และบางส่วนอาจจะอยู่ในรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ตัวเลขที่บอกปริมาณฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยจะหมายถึง เฉพาะรูปที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหินฟอสเฟตบด ถ้ามีฟอสฟอรัสทั้งหมด 30% แต่อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ เพียง 3% ก็จะมีสูตรเป็น 0-3-0 เท่านั้น

3 โพแทสเซียม (K) : ในปุ๋ยเคมีก็อาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ หรือที่เรียกว่า รูปที่ละลายน้ำได้ และรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ซึ่งตัวเลขในสูตรปุ๋ยก็จะหมายถึงเฉพาะรูปที่พืชดูดกินได้เท่านั้น

ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์- ปุ๋ยเคมี
                ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์                                                   ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น                1. ปริมาณธาตุอาหารต่ำ ต้องใส่ในปริมาณมาก
2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร)                    2. ใช้เวลานานกว่าจะเป็นประโยชน์
3. ส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ดีขึ้น                               3. ราคาแพงเมื่อเทียบกันต่อหน่วยธาตุอาหารพืช
4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน                             4. หายากในปัจุบัน
5. มีจุลธาตุอาหาร  


                                 ข้อดีของปุ๋ยเคมี                           ข้อเสียของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก (ใช้นิดเดียวก็เพียงพอ)       1. ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมทำให้ดินเป็นกรด
2. ราคาถูก เมื่อเทียบต่อหน่วยธาตุอาหารพืช                   2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดิน
3. หาง่าย                                                               3. มีความเค็ม
4. ใช้ง่าย                                                               4. ต้องมีความรู้ในการใส่ปุ๋ยเพียงพอ
5. ให้ผลเร็ว   

การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช


         1. ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน
         2. อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด
         3. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ ไม่ควรเกิน 50 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ไม่สม่ำเสมอ มีความลาดเทต่างกัน ปลูกพืชต่างชนิดกัน หรือเคยใช้ปุ๋ยต่างกัน ฯลฯ ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ แล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย (1 ตัวอย่าง 1 แปลงย่อย เก็บดิน 15-20 จุด)
         4. การเก็บตัวอย่างดินจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าปลูกพืชตามฤดูกาล ควรเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด


ที่มา : www .kasetporpeang. com/forums/index.php?topic=19576.16

          การปลูกพืชตามปกติต้องอาศัยดินเป็นวัสดุปลูก ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักกับมันเสียก่อน   ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ผสมกับซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี ดินหลังจากเปิดป่าใหม่จะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ดี ปลูกพืชงามและมีผลผลิตสูง เมื่อใช้ดินทำการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะมีสภาพเสื่อมโทรมลง ธาตุอาหารหรือปุ๋ยเดิมในดินจะหมดไป รวมทั้งลักษณะการโปร่ง ร่วนซุยของดินก็จะแน่นทึบ ไถพรวนยาก ถ้าไม่แก้ไขปรับปรุง ก็จะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูงอีกต่อไป

ดินเป็นแหล่งผลิต ปัจจัยทั้ง 4 ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากนี้ดินเปรียบเสมือนเครื่องกรองที่มีชีวิต สามารถนำไปใช้ในการกำจัดของเสียทั้งในรูปของแข็งและของเหลว ดินเป็นแหล่งของจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถเปลี่ยนสารประกอบต่างๆที่เป็น พิษในดินให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษได้ ดินทำหน้าที่เป็นที่เกาะยึดของรากพืช ไม่ให้ล้ม ให้อากาศแก่รากพืชในการหายใจ และให้ธาตุอาหารพืชเพื่อการเจริญเติบโต(จากคู่มือสำหรับเกษตรกรยุค ใหม่ ธรรมชาติของดินและปุ๋ย  โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย )

ส่วนประกอบของดินตามธรรมชาติ
  1. อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่เกิดจากชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆ ที่สลายตัวโดยทางเคมี กายภาพ และชีวเคมี ทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารให้กับพืช และเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดิน
  2. อินทรียวัตถุ ได้แก่ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษเหลือของพืชและ สัตว์ที่ทับถมกันอยู่บนดิน ทำหน้าที่ เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน และ ควบคุมสมบัติทางกายภาพของดิน เช่นโครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำและการแลกเปลี่ยนอากาศของดิน แต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
  3. น้ำ ที่อยู่ในดินนั้น ทำหน้าที่ให้น้ำแก่พืช และช่วยละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และขนย้ายอาหารพืช
  4. อากาศ ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืช และจุลินทรีย์ในการหายใจ 



       ดินมีความลึกหรือความหนา แต่ถ้ามองความลึกนั้นลงไปตามแนวดิ่ง จะเห็นว่าดินนั้นทับถมกันเป็นชั้นๆ ดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ ตามแนวดิ่งนั้นเรียกว่า หน้าตัดดิน

      ตามปกติดินที่เกิดใหม่มักมีอินทรียวัตถุสะสมอยู่ที่ดินบน แต่จะมีปริมาณน้อยในดินล่าง ในระดับที่ลึกลงไปตามแนวหน้าตัดของดินจะพบหินบางชนิดที่กำลังสลายตัวอยู่ใน ชั้นล่างเรียกว่า วัตถุต้นกำเนิดดิน ใต้วัตถุต้นกำเนิดดินลงไปเรียกว่าหินพื้น ซึ่งเป็นชั้นที่ยังไม่ได้ผ่านการสลายตัวผุพัง

      รากพืชจะเจริญเติบโต และดูดธาตุอาหารในส่วนที่เป็นดินบนและดินล่าง ซึ่งมีความลึกไม่เท่ากันในดินแต่ละชนิด ดินที่ลึกก็จะมีพื้นที่ที่ให้พืชหยั่งรากและดูดธาตุอาหารได้มากกว่าดินที่ ตื้น ดังนั้นการปลูกพืชให้ได้ผลดีควรพิจารณาความลึกของดินด้วย

การที่พืชจะเจริญเติบโตเป็นปกติได้นั้นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

1 แสงสว่าง เป็นแหล่งพลังงานซึ่งพืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างน้ำตาลและแป้ง

2 อุณหภูมิ อุณหภูมิของดินและของบรรยากาศควบคุมอุณหภูมิภายในต้นพืช กระบวนการต่างๆ ภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ

3 ความชื้นหรือน้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์แสง และทำหน้าที่ต่างๆ มากมายในพืช เช่น ทำให้เซลล์เต่งตัว เป็นตัวกลางในการขนย้ายธาตุอาหาร และอินทรียสาร

4. ชนิดและปริมาณของก๊าซต่างๆ ในดิน อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนจากอากาศในดินหายใจ ถ้ามีก๊าซนี้ไม่เพียงพอรากจะไม่เจริญเติบโต ระบบรากไม่ดี ซึ่งทำให้ดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อย

5. สภาพกรดด่างของดิน นิยมบอกเป็นค่าพีเอช ดินที่มีพีเอช เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง แต่ถ้าต่ำกว่า 7 ก็เป็นดินกรดและสูงกว่า 7 เป็นดินด่าง พืชโดยทั่วไปเจริญเติบโตได้ดีหากดินมีพีเอชใกล้เป็นกลาง

6. โรคและแมลงศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตบางอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคและแมลงหลายชนิดเป็นศัตรูร้ายแรง ต่อพืช ดังนั้นถ้ามีโรคและแมลงรบกวนมากย่อมจำกัดการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

7. ธาตุอาหารในดินและสมบัติต่างๆ ของดิน สมบัติของดินทางเคมี กายภาพ และชีวภาพต่างก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสิ้น ธาตุอาหารในดินถูกพืชดูดขึ้นไปใช้สร้างผลผลิต และสูญเสียไปจากดินอย่างถาวร ถ้าไม่มีการชดเชยส่วนที่หายไป ดินจะเสื่อมโทรมและมีปัญหาในการผลิตพืชต่อไป




 ที่มา : www .kasetporpeang. com/forums/index.php?topic=19576.16

วิธีทำ "ข้าวงอก" ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
....เติมพลังชีวิตจากเมล็ดข้าว มากประโยชน์ต่อร่างกาย....

เรียนรู้วิธีการง่ายๆ ในการทำ "ข้าวงอก" ทานด้วยตัวเอง เผยประโยชน์ต่อร่ายกายครบครัน ช่วยชะลอความแก่ นอนหลับสบาย ควบคุมน้ำตาลและคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยขับสารแห่งความสุข แถมยังป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย

กระแสการรับประทาน "ข้าวงอก" ได้หวนกลับมาอีกครั้ง จึงมีโอกาสได้ทดลองทำข้าวงอกทานเองอีกหน เพื่อนำประสบการณ์และวิธีการทำข้าวงอก ซึ่งเรียนรู้มาจากมูลนิธิขวัญข้าวและโรงเรียนชาวนาแห่งสุพรรณบุรี มาถ่ายทอดให้แก่ผู้อ่านต่อไป


นายเดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิขวัญข้าว ให้ความรู้เกี่ยวกับข้าวงอกว่า การรับประทานข้าวงอกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนเมื่อนานมาแล้ว แต่ได้รับความนิยมมากที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะชาวแดนอาทิตย์อุทัยเชื่อว่า "ข้าวงอกให้พลังแห่งชีวิต"


วิธีการทำ "ข้าวงอก" สามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างไม่ลำบาก และไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อแพงๆ มารับประทาน เริ่มจากการเลือก "ข้าวกล้อง" เป็นอันดับแรก โดยต้องเน้นเลือกข้าวกล้องที่สดใหม่และเมล็ดสมบูรณ์มาเพาะ เนื่องจากจะสามารถงอกได้ดี โดยเมล็ดข้าวกล้องต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี เพราะมี "จมูกข้าว" และ "เปลือกหุ้มเมล็ด" อยู่ ทำให้มีพลังชีวิตค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ข้าวกล้องต้องไม่บรรจุในถุงสุญญากาศ ไม่มีแมลงรบกวน และถ้าเป็น "ข้าวกล้อง อินทรีย์" ได้ ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก


จากนั้น นำข้าวกล้องไปซาวน้ำและแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ต่อมาก็เทข้าวที่อุ้มน้ำใส่ผ้าสะอาดและมีความหนานุ่ม โดยอาจเลือกใช้เสื้อยืดเก่าหรือผ้าขนหนูเก่าก็ได้ แล้วใช้ผ้าห่อคลุมให้มิดชิด แต่พอมีอากาศให้เมล็ดข้างหายใจ พรมน้ำแค่พอชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง


ถ้าเตรียมแช่ข้าวไว้เย็นวัน ศุกร์ นำมาบ่มในผ้าเช้าวันเสาร์ พอถึงเช้าวันอาทิตย์ก็สามารถหุงข้าวรับประทานได้ เพราะแค่เพียงข้ามคืน เราจะสามารถสังเกตเห็นจมูกข้าวสีขาว โผล่ขึ้นมาชัดเจน


เมล็ดข้าวที่ถูกบ่มแล้วสามารถนำไปหุงให้สุกได้เลย แต่มีเคล็บลับในการหุง คือ ต้องใส่น้ำน้อยกว่าการหุงตามปกติเกือบครึ่งหนึ่ง


ข้าวงอก ที่หุงสุกจะมีกลิ่นหอมแปลกจากข้าวธรรมดา เมล็ดข้าวจะไม่จับเป็นก้อน กินหอมนุ่มอร่อยลิ้น หากค่อยๆ เคี้ยวจะสามารถรับรสนุ่มหวานที่แปลกไปจากเดิม




ประโยชน์ของข้าวงอก
พลัง ชีวิตในข้าวงอก คือ สารกาบ้า (Gamma - Aminobutyric Acia หรือ GABA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการฟื้นชีวิตของเมล็ดข้าว ทั้งนี้ สารกาบ้ามีอยู่ในเมล็ดข้าวและจะมีเพิ่มขึ้นเมื่อเป็นข้าวงอก อายุ 1 - 2 วัน เมื่อเข้าสู่วันที่ 3 สารกาบ้าจะลดลงเรื่อยๆ


"สาร กาบ้า" เป็นกรดอะมิโน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับสบาย นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและเกิดสารป้องกันไขมัน ชื่อ "Lipotropic"

สารกาบ้ายังช่วยทำ ให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสม่ำเสมอ ชะลอความชรา ความคุมระดับน้ำตาลและพลาสมาคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือก รวมทั้งขับเอ็นไซม์ เพื่อขจัดสารพิษออกจากร่ายการ แถมยังช่วยกระตุ้นการขับน้ำดีสู่ลำไส้ เพื่อย่อยสลายไขมัน ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ และช่วยขับสารแห่งความสุข

ส่วนในวงการแพทย์มีการใช้ "สารกาบ้า" รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก

เห็นไหมละว่า ประโยชน์เพียบจริงๆ !!!


************************
ที่มา นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 93 เขียนโดย นก อยู่วนา romsuan@hotmail.com

ไม้ตะกู

ไม้ตะกู

ชื่อพฤกษศาสตร์                 :  Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp.
วงศ์                                : Rubiaceae
อันดับ                             : Gentianales
ชื่อการค้า                         : ตะกู
ชื่อสามัญ                         : Bur-flower Tree
ชื่อท้องถิ่นในประเทศไทย        : กรองประหยัน (ยะลา) กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (กลาง, เหนือ)  กว๋าง (ลาว)          โกหว่า (ตรัง)  แคแสง (ชลบุรี, จันทบุรี)  ตะกู (กลาง, สุโขทัย)  ตะโกส้ม (ชลบุรี, ชัยภูมิ) ตะโกใหญ่ (ตราด) ตุ้มก้านซ้วง, ตุ้มก้านยาว, ตุ้มเนี่ยงและตุ้มหลวง (เหนือ)  ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ทุ่มพราย (ขอนแก่น) ปะแด๊ะ, เปอแด๊ะและสะพรั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ปาแย (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทั่วไป
   ตะกู เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 16-27 เมตร  (สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ  280  ซม.  สูงประมาณ  27  เมตร)  เรือนยอดเป็นพุ่มกลม  กิ่งตั้งฉากกับลำต้น  ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ (บางถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะในแถบประเทศอินเดีย ลำต้นจะไม่เปลาตรงเนื่องจากมีกิ่งขนาดใหญ่ การลิดกิ่งตามธรรมชาติมีน้อย) เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ  เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน  ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงข้ามเป็นคู่ ๆ มีขนาดประมาณ 5-12  x 10-24 ซม.  ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าทางท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้าน
ดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกัน แน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็น  ช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน  2 ช่อ  อยู่ตามปลายกิ่ง ผลตะกูเป็นผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head  มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม. ผลแก่มีสีเหลืองเข้ม ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายใน เมล็ดมีขนาดประมาณ 0.44 x 0.66 มม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18-26 ล้านเมล็ด
  ผลแก่เป็นอาหารของสัตว์ป่าจำพวกกวาง เก้ง และนก  ซึ่งสัตว์เหล่านี้ช่วยให้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่าย เราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งๆที่บางแห่งอาจจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตาม






ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
   ตะกู พบการกระจายพันธุ์อยู่ในช่วงเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือ ตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางทิศตะวันออกจนถึงบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา  พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี   ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต ขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร  โดยมักพบต้นตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น



ลักษณะทางนิเวศวิทยา (Ecological aspects)
   การ เจริญเติบโตของต้นตะกูขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายชนิดที่สำคัญได้แก่ ดิน น้ำ อุณหภูมิ และแสงสว่าง ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นตะกู ได้แก่ ดินตะกอนทับถม ที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ความชื้นในดินเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ตะกู ไม้ตะกูจะขึ้นได้ดีในท้องที่ที่มีฝนตกประมาณ 1,500 – 5,000  มิลลิเมตรต่อปี และมีความชื้นในอากาศไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ตะกูอีกปัจจัยหนึ่ง ไม้ตะกูเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 21 – 32  องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิสูงกว่า หรือต่ำกว่าช่วงดังกล่าว การเจริญเติบโตของไม้ตะกูจะลดลง  แสงเป็นปัจจัยมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของไม้ตะกูอีกชนิดหนึ่งไม่น้อยไป กว่า ดิน น้ำ และอุณหภูมิ นั่นคือ ไม้ตะกูก็เป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสงมากชนิดหนึ่ง (light demanding species) การเจริญเติบโตของไม้ตะกู (เทียบจากปริมาณน้ำหนักแห้งทั้งต้น) จะดีที่สุดเมื่อปลูกในที่มีความเข้มของแสงปริมาณ 75% (ของ full daylight) และจะช้าที่สุดเมื่อปลูกในที่ที่มีความเข็มแสงประมาณ 25 % เท่านั้น สำหรับด้านความสูงของไม้ตะกูถ้าปลูกในที่ที่ได้รับแสง 100 % จะสูงที่สุด และไม้ตะกูปลูกในที่ที่ได้รับแสง 25 % จะเตี้ยที่สุด ความยาวนานของแสง  (day length) ในช่วง 8, 12 และ 16  ชั่วโมง มีผลต่อความแตกต่างด้านการเจริญเติบโตของกล้าไม้ตะกูน้อยมาก

ปัจจัยควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ตะกู
   1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นของดิน (Rainfall and soil moisture)
   ไม้ ตะกูสามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 – 5,000 มิลลิเมตร แต่ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของไม้ตะกู คือ 1,500 – 5,000 มิลลิเมตร มีช่วงฤดูแล้งไม่เกิน 3 เดือน ส่วนไม้ตะกูที่ขึ้นในที่แห้งแล้งจะแคระแกร็น มีรูปร่างที่เป็นพุ่ม มีการเจริญเติบโตทางความสูงน้อย และอาจถึงตายได้ในช่วงฤดูร้อน ในทางตรงกันข้ามในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงมาก ต้นตะกูจะมีขนาดใหญ่และมีความสูงมาก ซึ่งความใกล้ไกลจากแหล่งน้ำมีผลต่อปริมาณความชื้นในดินด้วย

2. อุณหภูมิและปริมาณความชื้นในบรรยากาศ (Temperature)
เป็น ปัจจัยที่สำคัญต่อการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ตะกู ซึ่งสามารถจะพบไม้ตะกู ได้ในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 15-35  องศาเซลเซียส  แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือประมาณ 21-32  องศาเซลเซียส ปริมาณความชื้นในบรรยากาศไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์  น้ำค้างแข็ง (frost) มีอิทธิพลต่อไม้ตะกู โดยจะทำอันตรายต่อส่วนที่อวบน้ำของไม้ตะกู เช่น ยอด ใบอ่อน และเยื่อเจริญของเปลือก ทำให้เกิดการตายจากยอดลงมา (die-back)

3. แสง (Light)
แสง (Light) ไม้ตะกูเป็นไม้ที่ต้องการแสงมากและไม่ทนร่ม ความเข้มแสงที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และการพัฒนาของกล้าไม้ตะกูจะอยู่ระหว่าง 75 – 94 % ของปริมาณแสง และกลางวันถ้าได้รับความเข้มแสงน้อยกว่านี้จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งของไม้ ตะกูลดลง

4. ความลาดชันของพื้นที่และความใกล้ไกลจากแหล่งน้ำ
ที่ สวนป่าตะกูอายุ 17 ปี ของบริษัทไม้ขีดไฟไทยตราพญานาค จำกัด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ต้นตะกูที่รอดตายและเติบโตได้ดีส่วนใหญ่อยู่ตามริมน้ำและบริเวณที่น้ำท่วม ถึง ต้นที่ใหญ่ที่สุด วัดเส้นรอบวงที่ระดับอกได้ 255 ซม. หรือมีความเพิ่มพูนทางเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอกเท่ากับ 4.72 ซม./ปี ซึ่งจัดว่าโตเร็วมาก แต่เป็นต้นที่อยู่ริมหนองน้ำต้นเดียวเท่านั้น ส่วนต้นที่อยู่บนเนินห่างจากหนองน้ำออกไปจะค่อยๆ โตช้าลงเรื่อยๆ ตามระยะทางที่ห่างจากริมน้ำและความลาดชันของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น

5. ธาตุอาหารและค่า pH ของดิน
ยังไม่มีการศึกษา

วนวัฒน์วิธีในการปลูกไม้ตะกู
1. การขยายพันธุ์
การ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดตะกูใหม่ ๆ มีการงอกของเมล็ดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเก็บทิ้งไว้นาน 1 ปี อัตราการงอกจะลดลงเหลือเพียง 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเมล็ดที่จะนำมาเพาะจะต้องเป็นเมล็ดที่เก็บใหม่เท่านั้น โดยเมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3 – 4 สัปดาห์ หลังการเพาะ แต่กว่าจะย้ายต้นกล้าลงถุงพลาสติกได้ต้องรอให้อายุ 2 – 3 เดือน แล้วเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงย้ายชำอีกอย่างน้อย 4 เดือน จึงจะได้ต้นกล้าสูงประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร ซึ่งพร้อมจะนำไปปลูกได้  ดังนั้นจากเมล็ดไม้ตะกูกว่าจะได้ต้นกล้าที่ใช้ปลูกได้ต้องใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าการผลิตกล้าไม้กระถินเทพาเล็กน้อย แต่สั้นกว่าการผลิตเหง้าสักซึ่งต้องใช้เวลา 10 – 12 เดือน หากลงมือหว่านเมล็ดในเดือนพฤศจิกายน ก็จะได้ต้นกล้าที่จะนำไปปลูกในเดือนมิถุนายนของปีถัดไป




นอก จากการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Reproductive Propagation) ด้วยการเพาะเมล็ดแล้ว ไม้ตะกูยังสามารถขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Vegetative Propagation) ด้วยวิธีต่าง ๆ ได้อีก เช่น การตัดยอดปักชำ การต่อกิ่ง การติดตา  การเสียบยอด และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งการแตกหน่อหลังการตัดฟัน (Coppice System)

2. การเตรียมพื้นที่ปลูก
จะ ต้องเตรียมพื้นที่ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า ควรมีการกำจัดวัชพืช หรือถ้าให้ดีควรทำการไถพรวนพื้นที่ด้วยรถแทรกเตอร์ เพราะนอกจากจะเป็นการพลิกดินให้ร่วนซุยแล้วยังเป็นการกำจัดวัชพืชอีกทาง หนึ่ง อันจะส่งผลดีทำให้กล้าไม้ตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น

3. ระยะปลูก
เนื่อง จากไม้ตะกูเป็นไม้ที่โตเร็ว ประกอบกับมีเรือนยอดแผ่กว้างกิ่งตั้งฉากกับลำต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมจึงไม่ควรน้อยกว่า 4 x 4 เมตร หรือความหนาแน่นของหมู่ไม้ไม่ควรเกิน 100 ต้นต่อไร่ หากปลูกในระบบวนเกษตรควรใช้ระยะปลูก 3 x 6 เมตร  4 x 6 เมตร หรือ 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชควบคุม และจำนวนปีที่ต้องการปลูกพืชแทรก

4. การบำรุงรักษา
ควร มีการปลูกซ่อม การปราบวัชพืช การทำแนวกันไฟ การชิงเผาเพื่อลดเชื้อเพลิง และการตัดสางขยายระยะเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ที่เหลือ



โรค แมลง และศัตรูธรรมชาติ
   ไม้ตะกูที่ปลูกเป็นสวนป่าโดยเฉพาะสวนป่าที่มีระยะปลูกค่อนข้างถี่หรือหมู่ ไม้มีความหนาแน่นสูง มักจะมีปัญหาเรื่องโรค รา และแมลงมากกว่าหมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เป็นกลุ่ม ๆ ตามธรรมชาติ แมลงศัตรูที่สำคัญของไม้ตะกูได้แก่ หนอนม้วนใบ (Margaronia hilararis) หนอนผีเสื้อ (Arthroschista hilararis) และนีมาโทดจำพวก Meloidogyne sp.  เกาะทำลายเรือนรากทำให้ต้นไม้ตายได้ 

   จาก การศึกษาของ คุณประจักษ์ รื่นฤทธิ์  (2550) พบว่า หนอนกาแฟสีแดง Zeuzera coffeae Nietner  ( Cossidae: Lepidoptera) มีการระบาดในแปลงปลูกไม้ตะกูที่สวนป่าไม้ขีดไฟไทยจำกัด โดยเจาะชอนไชกินเนื้อไม้อยู่ภายในขึ้นไปที่ยอดหรือลงสู่ส่วนล่างของลำต้น ซึ่งการป้องกันให้ได้ผลจำเป็นต้องพ่นสารเคมีที่ลำต้นตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี โดยพ่นทุก ๆ 1 เดือน



อัตราการเจริญเติบโต
   อัตราการเจริญเติบโตของไม้ตะกูในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังย้ายปลูกแล้ว  1  ปี อาจสูงถึง  3  เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ  2-3  เมตร/ปี ติดต่อกันไปนาน  6-8  ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1.3-7.6  ซม./ปี








คุณภาพเนื้อไม้
   ไม้ตะกูถูกจัดให้อยู่ในประเภทไม้เนื้อแข็งปานกลางแต่ความทนทานตามธรรมชาติ ต่ำ (ตามหลักเกณฑ์การแบ่งคุณภาพเนื้อไม้ตามมาตรฐานกรมป่าไม้) ในด้านคุณสมบัติในการใช้งาน ทั้งการเลื่อย การไส การเจาะและการกลึง ทำได้ค่อนข้างง่าย ส่วนการยึดเหนี่ยวตะปูมีน้อย การขัดเงาทำได้ง่ายมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกับไม้โตเร็วบางชนิด  เช่น  ยางพารา จำปาป่า กระถินเทพา และ ยูคาลิปตัส แล้ว ไม้ตะกูมีค่าความแข็งแรง ความเหนียวจากการเดาะและความแข็งต่ำที่สุด

การใช้ประโยชน์
   ใช้ทำเครื่องเรือนราคาถูก ทำ ไม้รองยก (พาเลท) ไม้ประสาน กรอบและบานหน้าต่าง งานกลึง แกะสลัก ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม (ใช้ภายนอกไม่ทนทาน) ทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดานและรองเท้า ในท้องที่ภาคใต้นิยมใช้ทำคอกเลี้ยงสุกร การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ







ตลาดไม้ตะกู
   ยังไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน   ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2541-2542 ขายตันละ ประมาณ 600 บาท (หักค่าใช้จ่ายแล้ว) โดย คุณประจักษ์ รื่นฤทธิ์  บริษัทสวนป่าไม้ขีดไฟไทยจำกัด (Thai Match Agroforestry  Co., Ltd.) อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ข้อเท็จจริงจากการปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูโดยบริษัทสวนป่าไม้ขีดไปไทยจำกัด
1.  ปีที่ 1 ปลูกด้วยกล้าไม้สูงประมาณ 30 ซม. เติบโตได้ดี
2.  ปีที่ 2 จากสภาวะความแห้งแล้งของพื้นที่ยังไม่แสดงผลมากนัก แต่เริ่มมีแมลงเข้ามาในแปลงขนาดใหญ่และเริ่มระบาดมากขึ้น ทำลายโดยการเจาะที่ส่วนยอดที่สำคัญคือ หนอนกาแฟสีแดง Zeuzera coffeae Nietner
3.  ปีที่ 3-5 ต้นตะกูไม่สามารถปรับตัวกับสภาวะอากาศที่แห้งแล้งรวมทั้งสภาวะดินที่ไม่ เหมาะสม (ดินตื้นชั้นล่างเป็นดาน หรือดินแน่นเกินไป)
4.  ปีที่ 6-7 มีการทยอยตัดสางไม้ออก แต่ต้นไม้ที่เหลือแทบจะไม่มีความเพิ่มพูน แล้วทยอยยืนต้นตาย
5.  พื้นที่ปลูกมีผลต่อการเจริญเติบโตอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องความลึกของดิน ความแน่นของดินซึ่งจะมีผลต่อการชอนไชของราก ปริมาณและการกระจายของน้ำฝนในรอบปี ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงความชื้นในดินและอากาศ พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำเช่น ร่องห้วย หุบที่ชุ่มชื้นเหมาะสมที่จะปลูกตะกู
6.  ตลาดรับซื้อไม้ยังไม่ชัดเจน


ที่ มา : ประจักษ์ รื่นฤทธิ์  บริษัทสวนป่าไม้ขีดไฟไทยจำกัด (Thai Match Agroforestry  Co., Ltd.) อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว (โทร. 081-664-2248)


ข้อเสนอแนะ
(1)  การปลูกสร้างสวนป่าเชิงพาณิชย์  ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะปลูก  ความสะดวกในการจัดหากล้าไม้และเรื่องราคากล้าไม้
(2)  ควรพิจารณา ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ประมาณ 15 ปี ขึ้นไป) รวมทั้งราคาขายและตลาดที่ยังไม่ชัดเจน
(3) เนื้อไม้มีคุณภาพไม่ค่อยดีนักควรใช้เทคโนโลยีช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เช่น การอบ การอาบน้ำยาไม้ เป็นต้น
(4) ควรมีการปรับปรุงพันธุ์ ให้ทนทานต่อโรคและแมลงและปรับตัวให้เจริญเติบโตได้ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่แห้งแล้ง


กฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้ตะกู
   ไม้ตะกูไม่เป็นไม้หวงห้ามแต่ประการใด


เอกสารและสิ่งอ้างอิง

ทศพร วัชรางกูร และ สุขสันต์ สายวา. 2536. ไม้ตะกู. การปลูกไม้ป่า. โครงการพัฒนาป่าชุมชน
                 ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ฝ่ายวนวัฒนวิจัย.  2526. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการป่าไม้ เล่มที่  9  ไม้ตะกู. กองบำรุง กรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพ ฯ.

สม ศักดิ์ สุขวงศ์. 2522. กระทุ่มน้ำ. การสัมมนาทางวนวัฒนวิทยาครั้งที่  2  เรื่องไม้โตเร็ว. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ฯ.

Bholachai,  P.  and  I.L. Domingo. 1976. Density of  sowing  Anthocephalus chinensis  Rich. ex Walp. Seeds. Pterocarous 1 : 68 – 70.

Manzo, P.M., R.C. Eala and A.P. Bati. 1971. Kaatoan bangkal for veneer and plywood manufacture. Phil. Lumberman  17 : 30 – 32.

Whitmore, T.C. 1975. Tropical  rain  forests of the far east. Oxford : Clarendon Press.


 
 
 
 
ที่มา คุณ ชาวนา : kasetporpeang.com และบทความในเวปไซต์ กรมป่าไม้