มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



ธาตุอาหารพืชสำคัญไฉน ???

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า อาหารของพืชคืออะไร ? พืชกินอาหารได้อย่างไร ? ทำไมแค่รดน้ำเฉย ๆ พืชก็เจริญงอกงาม ? และปัจจุบันยังไม่มีใครทราบได้ว่า จริง ๆ แล้วต้นไม้หรือพืชแต่ละต้นนั้นต้องการน้ำปริมาณเท่าไหร่ ? ต่อวัน

ข้อมูลที่ได้เป็นเพียงการคำนวณซึ่งประมาณไม่ได้ใกล้เคียงเหมือนมนุษย์เรา เพราะต้นไม้ทำงานอยู่ตลอดเวลา และต้นไม้พูดไม่ได้ที่จะบอกเราได้ว่า “ฉันอิ่มแล้วนะ วันนี้ฉันกินน้ำหมดเป็นลิตรนะ” (ไม้ยืนต้นขนาดเส้นรอบวงโคนต้นประมาณ 1 เมตร กินน้ำประมาณ 20 ลิตร/วัน แต่ขึ้นอยู่กับ ชนิดพืช อุณหภูมิความชื้น แสงสว่าง และฤดูกาล) อาหารของพืชก็คือ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของสะสารที่ละลายในน้ำหรือของเหลว หรือที่เรียกว่าสารละลาย

พืชก็มีชีวิต มีการกินโดยอาศัยหลักการแพร่ของสารและอาศัยประจุความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (อิออน + -) การหายใจดูดเอาก๊าซคาร์บอน เข้าทางปากใบ (อยู่ใต้ใบ) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยกระบวนที่เรียกว่าการสังเคราะห์แสง โดยคลอโรฟิลล์ แล้วก็คายก๊าซออกซิเจน ออกมาให้เราได้ใช้หายใจกระบวนการนี้จะเกิดเฉพาะในตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ซึ่งคนโบราณภาคอีสานจะห้ามไม่ให้ปลูกต้นไม้ในห้องนอนโดยใช้กุศโลบายจะบอกว่า “คะลำ” เดี๋ยวเวลานอนจะมีอะไรต่าง ๆ นา ๆ มาเข้าฝัน หรือเป็นวิญญาณมาหลอกหลอน (คะลำ = ภาษาอีสาน แปลว่า ไม่ดี ไม่ควรปฏิบัติ ไม่ควรทำ) รวมถึงการขับถ่ายออกมาทางปากใบโดยการคายก๊าซออกทางปากใบ

ปัจจุบันพืชที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คือ พืชที่ปลูกในประเทศ อิสราเอล ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนี้เป็นทะเลทรายแต่กลับ ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แม้แต่โคนม น้ำนมโคที่ได้มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำนมโคจากประเทศเดนมาร์ก นั่นอาจเป็นเพราะมีการจัดการที่ดีบวกกับเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยเรายังเข้าไม่ถึง

ผมจึงอยากนำเสนอถึงความสำคัญ ของการให้ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) แก่พืช เพื่อจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันปุ๋ยที่ผลิตในประเทศไทยคือปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งนั้น ซึ่งนำเข้าเพียงปุ๋ยบริสุทธิ์ หรือหัวปุ๋ย จากนั้นนำมาผสมกับวัสดุต่าง ๆ ปุ๋ยที่ขายตามท้องตลาดเนื้อปุ๋ยจริง ๆ มีนิดเดียว ที่เหลือคือ องค์ประกอบ อาจจะเป็นดินเหนียวหรือสารอื่น ๆ แล้วแต่บางเจ้าเขาจะผลิตออกมา เพราะถึงเนื้อปุ๋ยมีมากไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน พืชจะได้รับประโยชน์จากไนโตรเจนได้ดีหลังจากให้ปุ๋ยเพียงแค่ใน 7 ชม. เท่านั้น ที่เหลือจะระเหยไปในอากาศและซึมลงไปในดินหมด

ธาตุอาหารพืชที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตมีทั้งหมด 16 ธาตุ

อยู่ในอากาศ 3 ธาตุ มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ประกอบไปด้วย คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) พืชนำไปใช้ประโยชน์ในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O)

ส่วนที่เหลือจะพบอยู่ในดินเป็นส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 13 ธาตุ คือ
1. ธาตุอาหารหลัก (ต้องการปริมาณมาก) ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเสียม (K)

2. ธาตุอาหารรอง (ต้องการปริมาณไม่มาก) ได้แก่ แคลเซี่ยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)

3.ธาตุอาหารเสริม (ต้องการปริมาณน้อย) (สังกะสี (Zn) เหล็ก (Fe) ทองแดง(Cu) แมงกานีส (Mn) ธาตุโมลิบดีนัม(Mo) โบรอน (B)) และคลอรีน (Cl)

ปุ๋ยเคมีที่มีขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก N - P - K เท่านั้น ทางที่ดีถ้ามีสัญลักษณ์เลขที่ใบอนุญาตของ กรมวิชาการเกษตร ก็อาจจะช่วยให้เราซื้อหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอนินทรีย์นั้นมีคุณภาพแน่นอน แต่สิ่งที่ทำให้พืชและดินคงอยู่ได้เราควรจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพต่าง ๆแทน ปุ๋ยเคมี.....


ที่มา : นายอุดม ดุจดา นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น