มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



ชื่อ : เสาวรส, กะทกรก, แพสชั่นฟรุต
ชื่อสามัญ : Granadilla,Purple Granadilla, Passion Fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora edulis Sims.
วงศ์ : PASSIFLORACEAE

ลักษณะทั่วไปของสาวรส




เสาวรสหรือแพสชั่นฟรุต (กะทกรก) เป็นไม้เลื้อยเ นื้อแข็ง ขนาดเล็ก อายุหลายปี อาจ ปลูกเป็นไม้ริมรั้วหรือ ทำค้าง หรือซุ้มให้เลื้อยพันก็ได้ แพสชั่นฟรุตไม่เกี่ยงขอเพียงให้มีที่เลื้อยพัน คราวนี้ก็ผลิดอกออกผลกันได้ทั้งปีไม่มีหยุด
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ เป็นพู 3 พู ปลายพูแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นจัก แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยวเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 6-8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวหรือสีเขียว กลีบรูปรี มีรยางค์เรียงเป็นวง สีขาวปลายม่วง มีดอกตลอดปี
ลรูปร่างกลมหรือรี ผิวเป็นมัน มีเมล็ดสีดำจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม
จะเลือกปลูกชนิดใดไว้ในบ้านก็แล้วแต่ แต่โดยทั่วไปเสาวรสพันธุ์สีเหลืองมักทนทานต่อโรคและต่อสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่า และจากที่เห็นเป็นพืชที่ปลูกอยู่ตามบ้
านของชาวออสซี่ จึงน่าจะปลูกในบ้านเราในฐานะของไม้ผลและไม้ประดับสวนได้ด้วย กิ่งพันธุ์ตอนนี้มีแพร่หลายทั่วไปตามตลาดต้นไม้
วงศ์วานเครือญาติของแพสชั่นฟรุตนั้นเป็นไม้ประดับก็
หลาย ชนิด ทั้งเถาศรีมาลาดอกแดง สร้อยไพลินและสร้อยฟ้าดอกม่วง อีกทั้งยังมีกะทกรกไทย ที่เพลินใจขึ้นอยู่ตามที่รกร้างว่างเปล่าและชายป่าเหมือนอายว่ามีดอกสวย ใครอยากชมก็ต้องลงแรงไปดูเอง กะทกรกไ
ทยนั้นผลจะกลมกว่า ดอกเล็กกว่า แม้ผลจะมีรสหวาน แต่ก็ไม่ค่อยมีใครนิยมรับประทาน
เสาวรสสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเขตอากาศเย็นทางภาคเหนือ หรือเขตอากาศร้อนชื้นทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก แต่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดี ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศไทย มี 3 พันธุ์ คือ





1. พันธุ์ผลสีม่วง




เมื่อผลสุกจะมีสีม่วงเข้มผิวเป็นมัน น้ำจาก พันธุ์ผลสีม่วง มีรสชาติดีกว่าพันธุ์ผลสีเหลือง มีกรดต่ำสีสวยและหวาน จึงเหมาะสำหรับรับประทาน ผลสด ข้อเสียของพันธุ์นี้คือ ค่อนข้างจะอ่อนแอต่อโรค

2. พันธุ์ผลสีเหลือง



เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองขมิ้น ผิวเป็นมัน น้ำคั้นของพันธุ์นี้ มีกรดมาก ซึ่งมี pH ต่ำกว่า 3 เหมาะสำหรับส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูปมากกว่าการ รับประทานผลสด ข้อดีของพันธุ์นี้คือ ให้ผลดก และมีความต้านทานโรคและแมลงสูงกว่าพันธุ์ผลสีม่วง มีการปลูกมากในจังหวัดชุมพร


3. พันธุ์ลูกผสม
เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ผลสีม่วงกับพันธุ์ผลสีเหลือง เพื่อคัดเลือกต้นพันธุ์ใหม่ ที่รวมลักษณะผลที่เด่นของแต่ละพันธุ์ไว้ ทำให้มีลักษณะผลใหญ่ ให้ผลดก มีรกห่อหุ้ม เมล็ดมาก เปลือกบาง ต้านทานโรค และมีช่วงเวลาในการให้ผลที่ยาวนาน พันธุ์นี้จะให้ทั้งผลที่มีสีม่วงและผลสีเหลือง พันธุ์ลูกผสมนี้เหมาะสำหรับปลูกเพื่ออุตสาหกรรมการทำน้ำเสาวรส เพราะสามารถเก็บผลผลิตป้อนเข้าโรงงานได้ตลอดทั้งปี

ภาพ:Sawarosdang_5.jpg

ถิ่นกำเนิด



มารู้จักเสาวรสหรือแพสชั่นฟรุตกันอีกเล็กน้อย เสาวรสนี้มีกำเนิดมาจากดินแดนบราซิล และแถบอเมริกาใต้ เป็น ผลไม้ที่ปลูกกันทั้งใจเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยทั่วไปแพสชั่นฟรุตมีสองชนิด คือชนิดที่ผลสีม่วงและผลสีเหลือง ผลสีม่วงเป็นพันธุ์ที่เติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและบนพื้นที่สูงมากกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลหรือเขตหนาย ส่วนพันธุ์สีเหลืองปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น ว่ากันเรื่องรสชาติ พันธุ์สีม่วงรสชาติออกหวาน และหอมกว่าชนิดสีเหลือง แต่คุณต่าทางอาหารแทบไม่ต่างกัน ในเมืองไทยปลูกได้ทั้งสองชนิด ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและสภาพอากาศ
เสาวรส เป็นไม้เลื้อยกินได้ที่ดอกสวยและดก หากมีใครบางคนที่ไม่ชมชอบรสชาติของผล ลองปลูกชมดอกประดับสวนก็ยังได้


การใช้ประโยชน์ของเสาวรส
1. เนื้อในหรือรกที่หุ้มเมล็ดของผลเสาวรส ใช้รับประทานสดได้ โดยผ่าผลแล้วเติมน้ำตาลทรายเพียงเล็กน้อยก็สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดเลย หรือจะนำไปทำเป็นแยมผลไม้ก็ได้
2. เปลือกและเนื้อส่วนนอก สามารถนำไปหมักทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักได้
3. น้ำคั้นจากเนื้อซึ่งส่วนนี้มีกลิ่นหอมและ มีกรดมาก ใช้ผสมเป็นเครื่องดื่ม หรือใช้ผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น เช่น น้ำแอปเปิ้ลน้ำส้ม น้ำสัปปะรด น้ำพีช เป็นต้น โดยอัตราการผสมน้ำเสาวรส ประมาณ 5 หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติที่ดีซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพราะนอกจากทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นและรสชาติที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย และน้ำเสาวรสยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นและรสชาติของไอศกรีม ขนมเค้ก เยลลี่ เชอร์เบท พาย ลูกกวาด และไวน์

คุณค่าทางโภชนาการ
เสาวรสต้องล้างเปลือกให้สะอาดก่อนกิน ผ่าครึ่งผลตามขวาง ตักเนื้อและเมล็ดกินกันสดๆ อีกวิธีคือ เมื่อผ่าครึ่งผลแล้วให้ตักน้ำผึ้งใส่ แล้วตักกิน เสาวรสนิยมนำมาทำเป็นน้ำผลไม้สีเหลือง รสเปรี้ยว กลิ่นหอม ดื่มกันมากกว่ากินสด เสาวรสขนาดกลาง 1 ผลให้คุณค่าสารอาหารดังนี้ แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม โซเดียม 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 63มิลลิกรัม วิตามินเอ 130 I.U. วิตามินซี 5 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม

ส่วนประกอบทางเคมีของน้ำเสาวรส ประกอบด้วยน้ำประมาณ 76-85% ของแข็งที่ละลายได้ประมาณ 17.4% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 12.4% กรดอินทรีย์ประมาณ 3.4% นอกจากนั้นมีแคโรทีนอยด์ สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบที่ให้กลิ่น วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์ ซึ่งมีข้อมูลแสดงสารอาหารดังนี้
ตารางที่ 1 Nutritional Information (1fl oz)
Calories (kcal)
15
Fiber
0.1 g
Energy (kj)
62
Sugars
4.1 g
Protein
0.1 g
Sodium
1.9 g
Carbohydrate
4.2 g
Fats
0 g
จากการที่เสาวรสมีวิตามินเอค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสารแคโรทีนอยด์ จึงช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ จากการศึกษาพบว่ามีวิตามินซีค่อนข้างสูง คือ 39.1 mg/100 g ของน้ำเสาวรส ซึ่งมากกว่าที่พบในมะนาวและพบสาร albumin-homologousprotein จากเมล็ดของผลเสาวรส ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ และยังมีสรรพคุณ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดไขมันในเส้นเลือด กำจัดสารพิษในเลือด บำรุงผิวพรรณ และช่วยฟื้นฟูตับและไตที่อ่อนแอ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดไม่ควรดื่มมาก เพราะน้ำเสาวรสมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณสูง

เสาวรสเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยกลับไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทั้งๆ ที่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ค่อนข้างสูง และใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แถมยังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดี ดังนั้นทั้ง จึงอยากให้ภาครัฐบาลและเอกชนทำการส่งเสริมการปลูก การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ผลไม้ชนิดนี้ให้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพภายในถิ่นกำเนิดเองด้วย

.................ถ้าพูดถึงพลังาน   เชื้อเพลง หลายๆท่านคงนึกถึงน้ำมัน แก๊ซ หรือในเมืองหลวงส่วนมากใช้แต่ไฟฟ้า ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชนบทแทบแต่เดิมทีแทบไม่ต้องพึ่งพลังงานเหล่านั้นเลย ครับ หลายท่านคงนึกไม่ออกแต่พอพูดถึงฟืนก็คงร้อง อ๋อ ..ฟืนนี่ไม่ได้ หมายถึง ไปตัดไม้ในป่ามานะครับ


ไม้ฟื้นสำหรับเป็นพลังงานเชื้อเพลิงอย่างดี เป็นผลผลิตจากการเกษตร อาธิ ไม้ ลำใย ลิ้นจี่ มะขาม อื่นๆ
อย่างของผมก็เป็นไม้ พุทธา น่ะ ไม้พุทธา ก้เป็นฟื้นได้ใช้ดีด้วยครับให้ความร้อนสูงใช้ได้เลยทีเดียว ส่วนต้นลิ้นจี่กับมะขามและอื่นที่ท่อนใหญ่หน่อยนำไปเผาเป็นถ่าน ถามว่าตัดมาทำฟืนหมดจะล่มสวนแล้วหรอ เปล่าหรอกครับ ทุกปีต้องมีการตัดแต่งกิ่งของไม้ผลเราอยู่แล้วถ้าไม่แต่งกิ่งผลิตจะออกมาน้อยไม่สมบูรณ์ในเมื่อเราตัดแต่งกิ่งไม้ ก็ได้ส่วนที่ตัดมาใช้ทำฟืนได้ทั้งปีเลยครับ อย่างแค่ต้นพุทธาผมก็เป็นก่องใหญ่มาก ใหนจะกิ่งลำใยอีก ขนาดเหลือแบ่งกันเอาไปใช้เลยแหละครับ ประหยัดค่าแก๊ซหุ้งต้ม และค่าไฟไปเยอะเลยครับ เป็นพลังงานภาคเกษตรที่เราอย่ามองข้ามเลยเชียว ซึ่งก็น่าจะเป็นพลังงานทดแทนที่เราหามาใช้ได้ในช่วงที่ราคาแก๊ซ ราคาไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ