มารู้จักกับเสาวรสกันเถอะ Passion Fruit หรือเรียกอีกอย่างว่า กระทกรก มีประโยชน์มากมาย



การปลูกเสาวรส

ระยะการปลูกและการวางแผนปลูก โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูกสำหรับเสาวรสรับประทานสดนั้นจะออกดอกติดผลเร็วกว่านี้ เนื่องจากเป็นต้นกล้าที่เปลี่ยนยอด แต่อายุเหมาะสมที่ควรให้ติดผลไม่ควรต่ำกว่า 5 เดือนเพื่อให้ต้นแข็งแรงพอและขึ้นค้างแล้ว ปกติแล้วเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ตลอดปีถ้าไม่ขาดน้ำ แต่ในสภาพที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนนั้น เสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นการปลูกเสาวรสรับประทานสดจึงจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการ ให้ผลผลิตและสภาพการปลูกคือ














แสดงการให้ผลผลิตของเสาวรสในการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน(ซ้าย) และให้น้ำ(ขวา)

1. การปลูกโดยอาศัยน้ำฝน เนื่องจากเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและจะต้องตัดแต่งในเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี ดังนั้นการปลูกจะต้องทำก่อนเดือนสิงหาคมอย่างน้อย 7 เดือน ซึ่งมี 2 ช่วงคือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว แต่หลังปลูกจะต้องให้น้ำช่วยเพื่อให้ต้นสามารถเจริญผ่านฤดูแล้วแรกไปก่อน สำหรับอีกช่วงหนึ่งคือการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคม ช่วงนี้ไม่ต้องให้น้ำแต่ในปีแรกช่วงระยะเวลาให้ผลผลิตจะสั้นแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น คือจากเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์






2. การปลูกแบบให้น้ำ

พื้นที่ปลูกสามารถให้น้ำได้ในฤดูแล้งเสาวรสจะสามารถให้ผลผลิตได้ทันทีเมื่อ อายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูก และให้ผลผลิตได้ตลอดปี ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ทุกช่วงเวลา แต่ยังคงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะประหวัดในเรื่องการให้น้ำแต่จะต้องเพิ่ม การกำจัดวัชพืชมากขึ้น แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องช่วยให้น้ำแต่ปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลงมา

การปลูกเสาวรสในกรณีที่จะเปลี่ยนยอดในแปลงปลูกนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจน กระทั่งเปลี่ยนพันธุ์และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกด้วยต้นพันธุ์ดีเช่น กัน โดยปกติแล้วจะปลูกต้นตอในช่วงปลายฤดูฝนและทำการเปลี่ยนพันธุ์ในช่วงปลายฤดู หนาวซึ่งต้นตอเจริญเติบโตถึงค้างแล้ว

ขั้นตอนการปลูก

การปลูกเสาวรสรับประทานสดมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการและมีการปฏิบัติดูแลรักษาดังนี้

1. การคัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก

เสาวรสรับประทานสดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นการค้าได้โดยอาศัยน้ำฝน แต่ถ้าสามารถเลือกพื้นที่ปลูกที่สามารถให้น้ำได้จะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น และการให้ผลผลิตยาวนานตลอดปี เสาวรสรับประทานสดนั้นสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งพื้นที่สูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด ไม่ควรมีน้ำขังและลาดชันมากเกินไปเพราะจะทำให้ทำค้างยาก ในเขตที่มีฝนตกชุกเสาวรสอาจจะติดผลไม่ดีนักในบางช่วง เนื่องจากละอองเกสรตัวผู้จะถูกน้ำชะล้างและแมลงไม่สามารถผสมเกสรได้ เสาวรสปลูกได้ดีในดินหลายชนิด ดินที่เป็นกรดก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 5.5 ควรใส่ปูนขาวลงไปด้วย

การเตรียมพื้นที่ปลูกเสาวรสรับประทานสดนั้น ต้องมีการไถพรวนพื้นที่ก่อนถ้าพื้นที่ไม่ลาดชันนัก และถ้าสามารถหว่านปุ๋ยอินทรีย์ในขณะไถพรวนพื้นที่ได้ก็จะดีมาก เนื่องจากเสาวรสมีระบบรากตื้นแต่แผ่กว้างมาก จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกโดยให้มีระยะปลูก 3x3 เมตร (177 ต้นต่อไร่) หลุมปลูกควรมีขนาด 30x30x30 เซนติเมตรและอยู่บริเวณโคนเสาค้างเพราะจะทำให้สะดวกในการปฏิบัติงานภายใน แปลง ก้นหลุมปลูกรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือเศษวัชพืชและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 100 กรัม จากนั้นผสมดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งลงในหลุมและควรเตรียมหลุมปลูกก่อน ล่วงหน้าระยะหนึ่งจะดีมาก เพื่อให้อินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปย่อยสลายก่อน

2. การคัดเลือกและเตรียมต้นกล้า

การ ปลูกเสาวรสรับประทานสดต้องมีการเตรียมต้นกล้าไว้ล่วงหน้าให้พอดีกับช่วงเวลา ที่จะปลูกเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่คุณภาพดี เพราะ การผลิตกล้าเสาวรสส่วนใหญ่จะใช้ถุงปลูกขนาดเล็กให้สะดวกต่อการขนส่งจึงไม่ สามารถเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงปลูกนานได้และที่สำคัญต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้อง คัดเลือกให้มีความสมบูรณ์สม่ำเสมอกันและไม่แสดงอาการเป็นโรคไวรัส

3. วิธีการปลูก

หลัง จากเตรียมหลุมปลุกแล้วก็สามารถน้ำนกล้าลงปลูกได้ในกรณีที่ปลูกด้วยต้นที่ เปลี่ยนยอดแล้วต้องให้รอยต่อของยอดพันธุ์กับต้นตออยู่สูงกว่าระดับดินเพื่อ ป้องกันเชื้อโรคเข้าทางรอยต่อและต้องตรวจสอบดูด้วยว่าได้เอาวัสดุพันกิ่งออก แล้วหรือไม่ เมื่อปลูกต้นกล้าแล้วใช้หลักไม้ไผ่ ขนาดเล็กความสูงถึงระดับค้างปักและผูกเถาติดกับหลักหรือเสาค้างก็ได้เพื่อ ให้ยอดของต้นตั้งตรงตลอดเวลาต้นจึงจะเจริญเติบโตได้เร็ว

4. การทำค้าง

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลประเภทเถ้าเลื้อยการปลูกจึงต้องมีค้างรองรับต้นและ ผลผลิต ค้างเสาวรสนั้นต้องแข็งแรงเพียงพอสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 3 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้งและต้องทำก่อนปลูกหรือทำทันทีหลังปลูกเพื่อให้ทันกันการเจริญเติบโตของ ต้นเสาวรสสามารถเลี้ยงเถาได้ทันทีเมื่อเถาเจริญถึงค้าง ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน การทำค้างช้าเป็นปัญหาที่พบมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทุนและแรงงานมากที่สุด

ค้างเสาวรสมีอยู่ 2 ระบบคือค้างแบบรั้วตั้งและค้างแบบเป็นผืนที่ยังแยกออกเป็นอีก 2 แบบคือ แบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่และแบบตัวที แต่ค้างแบบรั้วตั้งและแบบตัวทีนั้นยังไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้เพราะพื้นที่ เลี้ยงเถามีจำกัดต้องเพิ่มการตัดแต่งมากกว่าปกติ

ค้างแบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่เป็นแบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปัจจุบันเนื่อง จากมีพื้นที่เลี้ยงเถามาก เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงและตัดแต่งเถามาก นอกจากนี้ยังทำได้ง่ายและแข็งแรงซึ่งค้างประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่

1. เสาค้าง สามารถใช้ได้ทั้งเสาคอนกรีต เสาไม้หรือเสาไม้ไผ่แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการลงทุนให้น้อยที่สุดในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เสาค้าง 177 ต้น คือใช้ระยะ 3x3 เมตร เช่นเดียวกับหลุมปลูก

2. ค้างส่วนบน เป็นพื้นที่เลื้อยของเถาเพื่อไม่ให้เถาห้อยตกลงมา วัสดุที่ใช้อาจจะเป็นไม้ไผ่ลวดสังกะสีหรือเชือกไนล่อนก็ได้ แต่วิธีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้คือใช้ลวดสังกะสีเบอร์ 14 สานเป็นโครงสร้างและใช้เชือกไนล่อนสานเป็นตารางขนาด 40x50 เซนติเมตร วิธีนี้จะทำให้น้ำหนักค้างส่วนบนลดลง

ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมแซมค้างที่เสียหายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปกติแล้วจะทำหลังจากการตัดแต่งกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ เช่น เปลี่ยนเชือกที่ขาดและเสาที่ผุพัง เป็นต้น

5. การจัดทรงต้นและการเลี้ยงเถา

เสาวรส เช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่นๆ ที่จะต้องจัดทรงต้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ หลังปลูกจนกระทั่งขึ้นค้าง คือจะต้องให้เสาวรสมีลำต้นเดียวตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงค้างในระยะ นี้จะต้องคอยดูแลตัดหน่อที่งอกจากต้นตอกิ่งข้างของต้นออกให้หมดรวมทั้งต้อง มัดเถาให้เลื้อยขึ้นตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้า ยอดของเถาห้อยลงจะทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโตและแตกตาข้างมากและเนื่องจาก เสาวรสรับประทานสดเน้นการเลี้ยวเถาเป็นต้นจากการเสียบยอดจึงติดผลเร็ว ต้องหมั่นเด็ดผลทิ้งจนกว่าต้นจะเจริญถึงค้าง

หลังจากต้นเจริญถึงค้างแล้วให้ทำการตัดยอดบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 กิ่ง จากนั้นจัดเถาให้กระจายออกไปโดยรอบต้นทั่วพื้นที่ของค้าง และควรตัดยอดของเถาอีกครั้งเมื่อยาวพอสมควรแล้วเพื่อช่วยให้แตกยอดมากขึ้น

6. การใส่ปุ๋ย

เสาวรสเป็นพืชที่ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะให้ผลผลิตได้ดีและมีคุณภาพโดยเฉพาะเสาวรสรับประทานสดนั้นยิ่งมีความจำ เป็นมาก การได้รับปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอจะมีผลทำให้คุณภาพและรสชาติของผลผลิต ต่ำกว่ามาตรฐาน ปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกเสาวรสรับประทานสดมี 2 ชนิดคือ

1. ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทำให้ต้นเสาวรสมีความแข็งแรงขึ้นและ ลดความรุนแรงของโรคไวรัสลง ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ต้องใส่ให้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งคือใส่พร้อมกับการเตรียมดินก่อนปลูกและหลังจากสิ้นสุดช่วงเก็บ เกี่ยวแล้วและทำการติดแต่งกิ่งของแต่ละปีในช่วงต้นกุมภาพันธ์โดยใช้ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยอาจจะใช้วิธีโรยเป็นแถวระหว่างต้นหรือรอบต้นแล้วไถพรวนหรือดินกลบ

2. ปุ๋ยเคมี มีความจำเป็นต่อเสาวรสรับประทานสดมาก โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้อย่างต่อเนื่อง ครั้ง ละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้งเพราะเสาวรสมีช่วงการให้ผลผลิตตลอดปีและพื้นที่สูง มักจะมีปัญหาการชะล้างของฝนทำให้เกิดการสูญเสียของปุ๋ยได้ง่าย อัตราใช้ปุ๋ยเคมีที่แนะนำคือ 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีหรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยใส่ดังนี้


7. การให้น้ำและกำจัดวัชพืช

เสาวรสสามารถทนแล้งได้ดีพอสมควร สามารถปลูกโดยอาศัยน้ำฝนได้ แต่การปลูกเสาวรสรับประทานสดแบบให้น้ำเพื่อให้มีผลผลิตตลอดปีนั้นจำเป็น ต้องให้น้ำในฤดูแล้งประมาณ 7 วันครั้ง ซึ่งสามารถให้ได้โดยหลายวิธี เช่น น้ำพ่นฝอย น้ำหยด หรือรดน้ำ ควรให้น้ำ 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นต้น สำหรับวัชพืชนั้นต้องหมั่นกำจัดอยู่เสมอโดยอาจจะใช้วีการตัดหรือพ่นด้วยสาร เคมีได้แต่ต้องไม่ใช้ประเภทดูดซึม หลังจากที่เถาเต็มค้างแล้วปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลง

8. การปลิดผล

โดย ธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและติดผลได้ง่ายโดยจะเกิดที่ทุกข้อบริเวณโคนก้าน ใบของกิ่งใหม่ถึงแม้ว่าดอกบางส่วนจะร่วงไม่ติดผลแต่ก็มักจะติดผลค่อนข้าง มากอยู่ ทำให้ผลผลิตคุณภาพไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องปลิดผลที่มีคุณภาพต่ำทิ้ง ให้ผลที่เหลืออยู่มีคุณภาพดี ซึ่งจำเป็นมากสำหรับเสาวรสรับประทานสดที่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ

ใน 1 เถาเสาวรสจะให้ผลที่มีคุณภาพดีเป็นชุด ๆ ละ 3-4 ผล หลังจากติดผล 1 ชุดแล้ว ผลชุดที่ติดต่อไปมักมีขนาดเล็กเพราะอาหารไม่เพียงพอจึงต้องทิ้งบ้าง นอกจากนี้ยังมีผลที่บิดเบี้ยวเนื่องจากการทำลายของโรคแมลงที่ต้องปลิดทิ้ง ด้วย โดยทำตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กอยู่

9. การตัดแต่งเถา

เนื่อง จากเสาวรสเป็นไม้ผลที่ออกดอกบนกิ่งใหม่จึงต้องทำให้ต้นมีการแตกกิ่งใหม่ตลอด เวลาเสาวรสจึงจะให้ผลผลิตได้ดีอีกประการหนึ่งคือเถาเสาวรสจะเลื้อยยืดยาวออก ไปตลอดเวลา ทำให้กิ่งใหม่และผลติดอยู่ไกลลำต้นจึงได้รับน้ำและอาหารไม่เต็มที่ การตัดแต่งจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ต้นแตกกิ่งใหม่และเถาไม่ยาวเกินไป ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะตามรูปแบบการปลูกคือ

1) การปลูกแบบอาศัยน้ำฝน จะต้องทำการตัดแต่งหนัก 1 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดฤดูกาลเก็บผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์โดยตัดเถาโครงสร้างที่ เกิดจากลำต้นให้เหลือ 3-4 กิ่งยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้น 1 เดือนจะแตกยอดใหม่ที่กิ่งโครงสร้าง ตัดแต่งกิ่งอีกครั้งโดยเลื้อยยอดใหม่ที่สมบูรณ์ ไว้ 2-3 ยอดต่อเถาโครงสร้าง 1 เถา จัดเถาให้กระจายไปรอบต้น

ในระหว่างที่ต้นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตนั้นต้องคอยตัดแต่งกิ่งข้างที่แก่ และกิ่งที่ให้ผลผลิตไปแล้วออกโดยให้เหลือตา 2-3 ตา เพื่อให้แตกยอดใหม่ให้ผลผลิตต่อไป

2) การปลูกแบบให้น้ำ

การปลูกแบบนี้จะไม่มีการตัดแต่งหนักในฤดูแล้งเพราะต้องการให้มีผลผลิตตลอด ปี แต่จะใช้การตัดยอดของเถาโครงสร้างที่ยืดยาวออกไปเป็นระยะๆ หลังจากที่ต้นขึ้นค้างแล้ว เพื่อบังคับให้แตกเถาข้างมากขึ้นและทำการตัดแต่งเถาข้างเมื่อยาวพอสมควร เป็นระยะเช่นกัน เพื่อ บังคับให้แตกเถาแขนงให้มากสำหรับให้ผลผลิตและต้องตัดแต่งเถาข้างหรือเถาแขนง ที่แก่หรือให้ผลผลิตแล้วออกเป็นประจำเพื่อให้แตกยอดใหม่ทดแทนตลอดเวลาโดยตัด ให้เหลือ 2-3 ตา

ในบางช่วงที่ต้นติดผลน้อยกว่าปกติ อาจจะตัดแต่งให้หนักมากขึ้นได้เพราะจะไม่กระทบกับการให้ผลผลิตมากนัก

10. การเก็บเกี่ยวและการบ่ม

สาว รสรับประทานสดจะไม่เก็บเกี่ยวโดยปล่อยให้ร่วงเหมือนกับเสาวรสโรงงาน คือต้องเก็บจากต้นโดยผลจะสุกเมื่ออายุประมาณ 50-70 วันหลังดอกบาน ระยะที่เหมาะสมเก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีม่วงแล้วประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วงจึงเก็บเกี่ยวด้วยวิธีการใช้ กรรไกรตัดขั้วผลจากต้นให้สั้นติดผล แล้วจึงนำมาบ่มเพื่อให้สีผลสวยและรสชาติดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะทำการเก็บเกี่ยวทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง

การบ่อใช้ก๊าซอะเซทธิลีน ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น ใส่ผลลงไปภาชนะเช่นกล่องกระดาษ แล้วนำแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ใส่ในภาชนะเล็กๆ หรือห่อกระดาษเติมน้ำเล็กน้อยให้เกิดก๊าซอะเซทธิลีนแล้วปิดภาชนะทิ้งไว้ 2-3 วันผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแดงเข้มขึ้นจึงนำส่งจำหน่าย ในกรณีที่ผลผลิตมีจำนวนมากให้ใช้วิธีใส่ผลผลิตลงในลังพลาสติกหลายๆ ลังนำมาตั้งรวมกันใส่แคลเซียมคาร์ไบด์มากเกินไปเพราะจะทำให้ผิวผลเสียหาย


ก่อน การบ่มควรคัดคุณภาพผลผลิตก่อนที่สำคัญคือระดับความสุกของผลให้สม่ำเสมอกัน เพราะจะทำให้ใช้ระยะเวลาในการบ่มเท่ากันสีของผลสม่ำเสมอกันทุกผล

11. การคัดคุณภาพผลผลิตและบรรจุหีบห่อ

ผลผลิตเสาวรสรับประทานสดนั้นต้องเน้นเรื่องคุณภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ คุณภาพภายใน ซึ่งได้แก่ความหวานและน้ำหนักต่อผล โดยความหวานต้องไม่ต่ำกว่า 16 Brix และผลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 เซนติเมตร ควรมีน้ำหนักประมาณ 70 กรัม เพราะผลที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาภายในจะมีเนื้อน้อย สำหรับลักษณะภายนอกนั้นผลต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่เน่า แตก หรือเหี่ยว ผิวผลอาจจะลายจากโรคไวรัสหรือแมลงได้ แต่ไม่มากเกินไป ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงกำหนดชั้นมาตรฐานผลผลิตไว้ 2 เกรด คือ เกรด 1 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป และเกรด 2 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร

หลัง จากคัดคุณภาพแล้วจึงบรรจุผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายโดยกำหนดให้บรรจุผลลงในลังสี เขียวที่บุข้างด้วยกระดาษและส่งให้งานคัดบรรจุตรวจสอบคุณภาพและส่งจำหน่าย ต่อไปโดยอาจจะบรรจุใหม่สำหรับขายปลีกเป็นกิโลกรัม

โรคและแมลงศัตรู

ปกติ เสาวรสจะมีโรคและแมลงหลายชนิดรบกวนแต่เนื่องจากเป็นพืชที่ค่อนข้างจะแข็งแรง ทนทานต่อโรคแมลงการปลูกส่วนใหญ่จึงไม่นิยมใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง ประกอบกับเสาวรสให้ผลผลิตตลอดทั้งปี จึงไม่เหมาะกับการใช้สารเคมี โรคและแมลงที่สำคัญของเสาวรสมีดังนี้

โรคของเสาวรส

1. โรคใบด่าง (Mosaic)

โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของเสาวรสเมื่อเกิดการระบาดแล้วจะทำให้ผลผลิตลด ต่ำ ลงทั้งปริมาณและคุณภาพโดยในเสาวรสรับประทานสดนั้นส่วนใหญ่มีการติดโรคนี้ เนื่องจากมีการขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งพันธุ์ดีจากต้นแม่เดิมที่เป็นโรคอยู่ ก่อนแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการวิจัยเพื่อผลิตต้นแม่ที่ปลอดโรคอยู่


สาเหตุและอาการ

โรคใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ Passion fruit Woodiness Virus (PWV) ซึ่งเป็นไวรัสท่อนยาวคดขนาด 650-800 นาโนเมตร ลักษณะต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการใบด่าง เส้นใบใส ผลด่างทั่วผลและมีอาการด่างแบบวงแหวน ผิวเปลือกไม่เรียบ เปลือกหนากว่าปกติ ผลจะมีลักษณะบิดเบี้ยวและขนาดเล็กลง เชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่งคือ Cucumber Mosaic Virus (CMV) อาการที่พบคือใบด่างเหลือง ใบยอดบิดและหงิกงอ ผิวใบไม่เรียบ ผลบิดเบี้ยว

การแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดโดยวิธีกล เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเสียบกิ่งและระบาดโดยแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อน

การป้องกันกำจัด

1. คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ปลอดจากไวรัส

2. ไม่ควรปลูกปะปนกับพืชตระกูลแตง มะเขือ

3. เมื่อนำต้นกล้าลงปลูกจนกระทั่งถึงเริ่มติดผล ควรพ่นยาป้องกันกำจัดแมลงพาหะเป็นระยะๆ

4. ควรระมัดระวังเครื่องมือที่ใช้ติดแต่งกิ่ง โดยทำความสะอาดทุกครั้งที่ตัดแต่งต้นเสร็จในแต่ละต้น

5. การบำรุงต้นให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอจะทำให้ต้นทนทานต่อการทำลายของ โรคไวรัส และยังคงให้ผลผลิตได้ดีถึงแม้ปริมาณและคุณภาพจะลดลงบ้างแต่ก็ยังคงสามารถให้ ผลผลิตได้ดี

2. โรคจุดสีน้ำตาลที่ผล (Brown fruit spot)

โรคนี้พบมากในแปลงปลูกที่ปลูกถี่เกินไปทำให้เถาแน่นทึบแสงแดดส่งไม่ถึง นอกจากนี้ยังพบในแปลงปลูกที่มีวัชพืชมาก

สาเหตุและอาการ

เกิดจากเชื้อ Collectotrichum sp. ทำให้ผลเป็นจุดสีน้ำตาลทั่วผลหลังจากนั้นแผลดังกล่าวจะพัฒนาเป็นกระเกิดนูนสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด

ต้อง หมั่นดูแลรักษาแปลงให้สะอาดอยู่เสมอ ตัดแต่งเถาที่แก่และแน่นทึบออกบ้าง เพื่อให้แสงแดดส่งถึงและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำการตัดแต่งผลที่เป็นโรคออกจากแปลง หากพบการหแพร่ระบาดของโรคมากและจำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัดแนะนำให้ใช้สาร เคมี เช่น เบนเลท หรือไดแทนเอ็ม-45 หรือแคปแทน ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง แต่ไม่ควรใช้ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว

3. โรครากเน่าและโคนเน่า (Damping off} Root rotand footrot)

มักจะเกิดกับต้นกล้าหรือต้นที่ปลุกในพื้นที่ระบายน้ำไม่ดี ซึ่งเกิดจากเชื้อราในดิน พวก Rhizoctonia sp. และ Fusarium sp. โดยต้นจะแสดงอาการเหี่ยวบางครั้งลำต้นบวมพองและแตกเมื่อดูระบบท่อน้ำท่อ อาหาร บริเวณรากและโคนต้นเป็นสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด

1. ในพื้นที่ที่เคยพบการแพร่ระบาดควรทำการไถดินตากแดด ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณของเชื้อโรคในดิน

2. ควรนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกเพื่อป้องวกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคในดินและควรใช้อย่างสม่ำเสมอ

3. หากเริ่มพบการเกิดโรคควรกำจัดแหล่งของเชื้อโรคโดยการเผาทำลาย

แมลงศัตรูเสาวรส

1. ไรแดงแดงและไรสองจุด

เข้าทำลายพืชบริเวณใต้ใบทำให้ใบมีสีซีด การระบาดจะมีมากในช่วงฤดูแล้ง แมลงทั้งสองชนิดนี้เป็นแมลงปากดูด

การป้องกันกำจัด

ไรแดง หากมีการระบาดในปริมาณมากให้ใช้สารไดโคโฟล (dicofol) ฉีดพ่นบริเวณใต้ใบ การใช้สารเคมีนี้ให้ผสมสารจับใบในการพ่นทุกครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ เกาะติดที่ใบของสารเคมี

ไรสองจุด หากมีการระบาดสามารเลือกใช้สารเคมีได้ดังต่อไปนี้คือ

1. โพรพาร์ไกต์(โอไมท์) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

2. อะเบาเมิกติน(เวอร์ทิเมค) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

3. เฟนไพร็อคซิเมต(ortus) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

** การพ่นสารควรพ่นตามอัตราที่กำหนดและในเวลาที่ไม่มีแดดจัด

2. เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟมีปากเขี่ยดูดมักเข้าทำลายที่ใบอ่อนและผลอ่อน โดยส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลายจะมีลักษณะเป็นขีดสีน้ำตาล เพลี้ยไฟมักจะระบาดในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วง หากพบการระบาดของเพลี้ยไฟควรทำการป้องกันกำจัดพร้อมกับบำรุงต้นพืชให้แข็ง แรง

สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

1. คาร์บาริล (เซฟวิน 85 ดับบิวพี) 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

2. โพรดไทโอฟอส (โตกุไธออน) 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

3. ฟลูเฟนนอกซูรอน (แคสเดด) 20-40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การป้องกันกำจัดแมลงด้วยสารเคมีสามารถทำได้ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตและงดการพ่นสารเคมีทุกชนิดก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

การผลิตและการตลาดเสาวรส เนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงวิจัยได้และส่ง เสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ผลิต ปัจจุบันจึงมีผลผลิตจากมูลนิธิโครงการหลวงเท่านั้นที่ออกสู่ตลาด โดยมีผลผลิตส่งจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541/2542(ส.ค.2541-ก.พ.2542) จำนวน 3,905.5 กิโลกรัม ปีพ.ศ.254/2543(มี.ค.2545-ก.พ.2543) จำนวน 7,012 กิโลกรัมและในปี พ.ศ.2543/2544 (มี.ค.2543-ก.พ.2544) จำนวน 37,925 กิโลกรัม แต่พบว่าปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากผลผลิตเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทำให้ความต้องการของตลาดเพิ่ม ขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเพิ่มการผลิต ในขณะที่ราคาผลผลิตอยู่ในระดับที่ดีคือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 10-12 บาท ซึ่งสูงกว่าเสาวรสโรงงานถึง 3-4 เท่า
จากสภาพดังกล่าวจึงคาดว่าเสาวรสรับประทานสดมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เป็น ไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งได้ ทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำ แต่ทั้งนี้การขยายการผลิตในระยะแรกคือ 2-3 ปีข้างหน้าต้องวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคาดว่าไม่ ควรเกิน 200 ตันต่อไป เพื่อรักษาระดับราคาของผลผลิตไม่ให้ลดต่ำลงและเพื่อศึกษาความต้องการของ ตลาดในอนาคตข้างหน้าให้แน่นอนอีกครั้ง




ที่มา..ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290
โทร. 0-53873938 , 0-53873939

1 ความคิดเห็น:

khun champ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก

แสดงความคิดเห็น